กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด ลงนามโดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2564 ถือเป็นกฎกระทรวงฉบับใหม่ที่มีการแก้ไขตามนโยบายรัฐบาลเพื่อปลดล็อกให้รถยนต์สามารถทำความเร็วบนถนนทางหลวง สอดคล้องต่อความต้องการใช้งานในปัจจุบัน โดยประกาศฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญ
กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะต่างๆ ประกอบด้วย
- รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม รถบรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรถทุกคนโดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถในขณะที่ชักจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจักรยานยนต์ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไปให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถยนต์อื่นที่ไม่อยู่ในข่ายข้างต้นให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ขณะเดียวกัน ได้กำหนดความเร็วขั้นต่ำสำหรับช่องขวาสุดของทางเดินรถในทางหลวง ซึ่งแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไปไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนเขตทางที่มีป้ายหรือเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตราย หรือเขตให้ขับรถช้าๆ ให้ลดความเร็วลงและเพิ่มความระมัดระวังขึ้นตามสมควร
ซึ่งการปลดล็อคกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะเหล่านี้ นำมาซึ่งการตอบสนองนโยบายปรับปรุงถนนทางหลวงให้มีมาตรรฐานสามารถทำความเร็วการขับขี่ยานพาหนะได้มากขึ้น โดยล่าสุดกรมทางหลวง ได้ปรับปรุงถนนทางหลวงไปแล้ว 10 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องทำการความเร็วในการขับขี่
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่กรมทางหลวง ได้เริ่มเปิดให้รถวิ่งใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เฉพาะช่องทางขวาสุด) ในเส้นทางนำร่อง
ระยะที่ 1 ที่ ทล. 32 ถนนสายเอเชีย ช่วง บางปะอิน - อ่างทอง กม.4+100 – กม.50+000 เปิดเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2564 เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้ทางได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง
ระยะที่ 2 เพิ่มอีก จำนวน 6 สายทาง เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2564 ประกอบด้วย
ทล.1 สนามกีฬาธูปะเตมีย์ - ประตูน้ำพระอินทร์ กม.35+000 - กม.45+000 จ.ปทุมธานี
ทล.1 หางน้ำหนองแขม - วังไผ่ กม.306+640 - กม.330+600 จ.นครสวรรค์
ทล.2 บ่อทอง - มอจะบก กม.74+500 - กม.88+000 จ.นครราชสีมา
ทล.32 อ่างทอง - โพนางดำออก กม. 50+000 - กม.111+473 จ.อ่างทอง,จ.สิงห์บุรี
ทล.34 บางนา - ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กม.1+500 - กม.15+000 จ.สมุทรปราการ
ทล. 304 คลองหลวงแพ่ง - ฉะเชิงเทรา กม.53+300 - กม.63+000 จ.ฉะเชิงเทรา
ระยะที่ 3 ตามประกาศผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดิน โดยจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2565 เป็นต้นไป จำนวน 3 สายทาง ทั้งขาเข้าและขาออก ประกอบด้วย
ทล.4 จำนวน 2 ช่วง ได้แก่ เขาวัง - สระพระ ระหว่างกม.160+000 - กม.167+000 และระหว่างกม.172+000 - กม.183+500 จ.เพชรบุรี (เป็นช่วงๆ)
ทล.9 บางแค - คลองมหาสวัสดิ์ ระหว่างกม.23+400 - กม.31+600 กรุงเทพมหานคร
ทล.35 นาโคก - แพรกหนามแดง กม.56+000 - กม.80+600 จ.สมุทรสงคราม (เป็นช่วงๆ)
ซึ่งกรมทางหลวง โดยแขวงทางหลวงในพื้นที่ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการรองรับการใช้อัตราความเร็วใหม่ในช่วงสายทางดังกล่าว โดยคำนึงในเรื่องความปลอดภัยกับประชาชนผู้ใช้ทางสูงสุด อีกทั้งได้บูรณาการร่วมกับตำรวจในพื้นที่ ตำรวจทางหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานความพร้อมในการอนุญาตให้สามารถใช้ความเร็วบนนถนนทางหลวงสายต่างๆ เฉพาะช่องทางขวาสุด ทำความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงไม่ผิดกฎจราจร
เปิดเส้นทางนักซิ่งถนนทางหลวง ชิดขวาสุด ทำความเร็ว 120 กิโลเมตร - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment