สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ ระบุส่งออกแซลมอน ทำนิว ไฮ แตะ 4 แสนล้านบาท ไทยคือตลาดสำคัญมูลค่านำเข้ากว่า 5.4พันล้าน ทุ่มงบจัดแคมเปญ พุ่งเป้าขยายตลาดปีหน้าโต 20%
ดร. อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เปิดเผยว่าผู้บริโภคในประเทศไทย ให้ความนิยมและคุ้นเคยกับวัฒนธรรมและอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น จะเห็นได้จากในกรุงเทพฯ มีร้านอาหารญี่ปุ่นกระจายอยู่กว่า 2,000 ร้าน แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าแซลมอน ฟยอร์ดเทราต์ และนอร์วีเจียนซาบะ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของซูชิและซาชิมินั้น ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากนอร์เวย์ทั้งสิ้น
ดังนั้น ทางสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ จึงใช้งบประมาณกว่า 72 ล้านบาทจัดแคมเปญ ‘The Story from the North’ ขึ้น เพื่อให้คนไทยได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องว่าปลาเหล่านี้มาจากนอร์เวย์ ไม่ใช่ญี่ปุ่นอย่างที่เข้าใจกัน
รวมทั้งอาหารทะเลจากนอร์เวย์สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในเมนูอาหารไทย ได้อย่างหลากหลาย โดยประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียและของโลก รองจากจีน
ในช่วงเดือนม.ค. -ต.ค. 2565 สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ ระบุว่า การส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ทำสถิติสูงสุดอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท เติบโต 14% หรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 5.4 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
เทียบเท่ากับการบริโภคมื้ออาหาร 37 ล้านมื้อต่อวัน หรือประมาณ 25,000 มื้อต่อนาที ในประเทศไทย ปริมาณการนำเข้าแซลมอนเพิ่มขึ้น 6% รวม 16,100 ตัน มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 55% รวม 5.4 พันล้านบาท การเติบโตที่สูงที่สุดคือฟยอร์ดเทราต์ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีปริมาณการนำเข้าฟยอร์ดเทราต์เพิ่มขึ้น 51% รวม 6.6 พันตัน มูลค่าเพิ่มขึ้น 114% รวม 2.2 พันล้านบาท ในส่วนของปริมาณการนำเข้านอร์วีเจียนซาบะเพิ่มขึ้น 23% รวม 9.4 พันตัน ในปีนี้
ทั้งนี้ช่วงที่ผ่านมามีการสั่งซื้ออาหารทะเลผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากความนิยมที่มีอย่างต่อเนื่องของอาหารญี่ปุ่น ปีนี้ มีรายได้รวมกว่า 7.2 หมื่นล้านบาท และคาดว่ามูลค่าตลาดรวมจะเติบโตกว่า 70% และแคมเปญ ‘The Story from the North’นี้คาดว่าจะช่วยดันยอดปริมาณการนำเข้ารวมของแซลมอนและฟยอร์ดเทราต์ในไทยโต 20% ภายในปี 2566
นางอัสตริด เอมีเลีย เฮลเล เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย กล่าวว่า นอร์เวย์เป็นผู้ผลิตแซลมอนแอตแลนติกอันดับหนึ่งของโลกและเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุด การประมงในนอร์เวย์ใช้ความเชี่ยวชาญที่ตั้งอยู่บนหลักจริยธรรม ชีววิทยาทางทะเล และเทคโนโลยี เพื่อรับรองความปลอดภัยด้านอาหารและสร้างความมั่นคงให้กับอนาคตของอุตสาหกรรม
โดยอาศัยแนวทางการปฏิบัติที่เข้มงวด การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืน นอร์เวย์ใช้งบประมาณถึง 620 ล้านบาทจากผู้เพาะเลี้ยงปลาในแต่ละปีเพื่อลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ด้วยประสบการณ์การเพาะเลี้ยงแซลมอนมากว่า 50 ปี ทำให้นอร์เวย์ส่งแซลมอนคุณภาพสูงไปทั่วโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 48 ชั่วโมงหลังจากนำปลาออกจากทะเล แซลมอนจากนอร์เวย์เป็นหนึ่งในสินค้าอาหารที่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมสูงที่สุดในโลก
นอร์เวย์ เล็งขยายตลาดแซลมอนไทย ปีหน้าโต20% หลังทำนิวไฮ ส่งออก4แสนล้านบาท - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment