ตลอดจนผู้ประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างรายย่อยในพื้นที่ให้สามารถฟื้นตัวจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19
อีอีซี จึงได้ผลักดัน โครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และผู้ค้ารายย่อยในอีอีซี ภายใต้การดำเนินงานของ EEC Enterprise ซึ่งจะดำเนินการสนับสนุนทั้งการสร้างความรู้ พัฒนาทักษะประสบการณ์ ขยายช่องทางจำหน่าย และความสามารถในการขาย พร้อมทั้งจัดหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ค้ารายย่อย ชุมชน พัฒนาผลผลิตและสินค้าให้มีความสด ใหม่ มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐานสากล
ทั้งนี้ จะส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าชุมชนและโอทอป ผ่านโครงการEEC Enterpriseโดยเป็นการร่วมดำเนินการระหว่าง อีอีซี
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ทำหน้าที่ วางแผนการผลิต การตลาด และส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวทางดำเนินงาน EEC Enterprise ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.สร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน จัดขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกชุมชน 2.วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับ สถาบันการศึกษา และ 3.ยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนร่วมกับภาคเอกชน เพิ่มทักษะการประกอบธุรกิจ รวมทั้งจัดหาแหล่งเงินทุน กองทุนสนับสนุน รองรับการแปรรูปหรือผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล เป็นต้น
สนับสนุนโครงการ EEC Enterpriseโดยเบื้องต้นได้ร่วมกับ สทบ. ร่วมดำเนินการคัดเลือกโครงการต้นแบบหลายโครงการ อาทิเช่นโครงการโรงเรือนกัญชงต้นแบบซึ่งเป็นโครงการแรก ของ EEC Enterprise โดยเบื้องต้น สทบ. จะช่วยสนับสนุนการลงทุน ช่วยเหลือในกระบวนการบริหารจัดการ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบให้แก่เกษตรกร รวมทั้งประสานเชื่อมโยงผู้ซื้อผู้ขาย จัดสรรผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการฯ ไปยังผู้ซื้อได้โดยตรง
พร้อมกันนี้อีอีซี จะได้หารือ ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) และสถาบันการเงินอื่น ถึงแนวทางการสนับสนุนด้านการเงินให้ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยด้านเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ และในระยะต่อไป EEC Enterprise ก็จะเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่อง
อีอีซีทำต้นแบบอุตฯกัญชงเพื่อคนท้องถิ่น - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment