วันที่ 1 ต.ค. เป็นวันผู้สูงอายุสากล ปี 2021 เป็นยุค โควิด-19 มีการกำหนดธีม คือ การพยายามสร้
สำหรับ สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย จากรายงาน มูลนิธิ
- "สูงวัย" อาเซียน 11%
ในส่วนของอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นที่เรียบร้อย คือ มีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ตอนนี้มี 11 % และ มี 7 ประเทศเป็นสังคมสูงวัยแล้ว มีเพียง 3 ประเทศที่ยังไม่เข้าสู่สังคมสู
ทั้งนี้ ประเทศไทย และ สิงคโปร์ ถื
- ไทยจะเข้าสู่ "สังคมสูงวัย" ระดับสุดยอดในอีก 10 ปี
"ดร.ณปภัช สัจนวกุล" สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในงานเวทีสาธารณะ : ก้าวต่อไปของผู้สูงอายุไทย 12 ล้านคน ผู้สูงอายุไทยอยู่ส่วนไหนของโลก” ผ่านโปรแกรม Zoom โดยอธิบายว่า ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปี ก่อน 2513 เรามีประชากรสูงอายุแค่ 5 % แต่วันนี้เรากลายเป็นสังคมสูงวั
"ถ้าเทียบกับตะวันตกที่ผ่
- คลื่นสึนามิ สูงวัย
“สาเหตุเกิดจาการที่อัตราการเกิดมีน้อยเราคุมกำเนิดได้ดี และอายุคนยืนยาวขึ้น ขณะนี้คลื่นสึนามิประชากรที่เป็นคลื่นลูกใหญ่ มีประชากรที่เกิด 2506 -2526 ในช่วง 20 ปีนั้นอัตราการเกิดของประชากรมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี ซึ่งคนจำนวนนี้กำลังจะกลายเป็นผู้สูงอายุแล้ว คลื่นประชากรที่มีมากกว่า 1 ล้านคนในแต่ละปีกำลังพัดเข้ามาในโครงสร้างอายุประชากรไทยเป็นสาเหตุที่ทำให้การสูงวัยในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว"
"โดยในปี 2583 หรืออีก 20 กว่าปีข้างหน้า ตัวเลขผู้สูงอายุ 12 ล้านคนในวันนี้ จะเพิ่มเป็น 21 ล้านคน และผู้สูงอายุวัยปลาย 80 ปีขึ้นไป ที่วันนี้เรามีอยู่ 1.4 ล้านคน จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านคน เป็นความท้าทายสำคัญเพราะคนกลุ่มนี้มีโอกาสตกอยู่ในภาวะพึ่งพิงมากกว่าคนวัยอื่น ๆ” ดร.ณปภัช กล่าว
- ความมั่นคงทางรายได้ ความท้าทายไทย
สำหรับ ความมั่นคงทางรายได้ของคนไทย สิ่งท้าทายตนคือวันนี้ เรามีคน 3 กลุ่ม คือ
1.ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ 9.6 ล้านคน ใช้งบประมาณไป เกือบ 8 หมื่นล้านบาท
2.ผู้สูงอายุที่ได้รับบำเหน็จ 8 แสนกว่าคน ใช้งบประมาณเกือบ 3 แสนล้านบาท
3.กลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ จากองทุนประกันสังคม 5.9 แสนคน ใช้งบประมาณ 2 หมื่นกว่าล้านบาท
ซึ่งจะเห็นว่าแต่ละกลุ่มได้รับความมั่นคงทางด้านรายได้แตกต่างเหลื่อมล้ำกัน และเป็นความท้าทายของสังคมไทยที่ในอนาคตจะมากกว่านี้อย่างแน่นอน
- สูงอายุ รายได้น้อย มากกว่า 1 ใน 3
ดร.ณปภัช กล่าวต่อไปว่า นอกจากนั้นมีอีก 2 กลุ่มที่ตนอยากเน้นให้เห็นความสำคัญคือ เรามีผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย เยอะมากเกินกว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุไทย 12 ล้านคน โดยเรามีผู้สูงอายุรายได้น้อยเกินกว่า 5 ล้านคน ที่รัฐบอกว่าเป็นคนจนจริงและได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และยังมีคนตกหล่นไป ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำมาออกแบบนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่กำลังมีการล้างไพ่กันอยู่
อีกส่วนหนึ่งคือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ไม่ว่าจะติดเตียงจำนวนกว่า 4.3 หมื่นคน หรือมีภาวะสมองเสื่อม 6.51 แสนคน และคาดว่าจะมากขึ้นต่อไปในอนาคต เป็นความท้าทายสำคัญที่รัฐมีหน้าที่ต้องจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมากกว่าที่เคย
- 4 ข้อเสนอรองรับ "สังคมสูงวัย"
อย่างไรก็ตามเราต้องมองว่าการสูงวัยของประชากร เป็นความสำเร็จ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และการแพทย์ อัตราการตายของทารกที่ลดลง ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เราสร้างขึ้นมาเองและหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย โดยตนมีข้อเสนอ 4 ข้อสำหรับรองรับสังคมสูงวัยที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า คือ
1. เรามีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน อีก 20 ปีข้างหน้ามันจะกลายเป็น 21 ล้านคน ถามว่าจะให้เขาอยู่ที่ไหนดี คำตอบที่ทั่วโลกทำมาก่อนหน้าเราคือ สร้างที่อยู่อาศัยเชิงสถาบันจำนวนมาก แต่สร้างเท่าไรก็ไม่พอ สิ่งทีเราต้องทำคือทำให้คนสามารถอยู่ในบ้านของตัวเองได้นานที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้ามีโอกาสเสียชิวิตที่บ้านตายอย่างสงบก็ควรจะทำและส่งเสริมคุณค่าแบบนี้ขึ้น ขณะเดียวกันรัฐก็มีหน้าที่ในการเติมบริการเข้าไปให้ด้วย
2. การสูงวัยต้องทำอย่างมีพลัง มีสุขภาพดี มีความมั่นคงทางการเงิน มีส่วนร่วมมีอิสระ สังคมสูงวัยของไทยต้องไปให้ถึง เมื่อใดที่เราทำให้คนยังแอคทีฟหรือมีพลังไปได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภาระของรัฐและสังคมก็จะน้อยลงตามไป
3. ผู้สูงอายุมีการเข้าถึงดิจิทัลเทคโนโลยีน้อยมาก ซึ่งเราก็ต้องพยายามส่งเสริมเรื่องนี้
4. การสูงวัยที่เป็นธรรมและเท่าเทียม เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องอยู่ในอุดมการณ์ของการออกแบบนโยบายที่รัฐควรจะทำวันนี้เราคุยกันถึงเรื่องเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ เราพยายามทำให้เบี้ยยังชีพความมั่นคงทางรายได้ให้เป็นสิทธิแทนการสงเคราะห์ แต่วันนี้เราจะย้อนกลับไปเหมือนเดิมอีกหรือเปล่า ต้องทบทวนว่าให้แล้วดีต่อประชาชนอย่างไร ซึ่งเป็น 4 เรื่องต้องทำพร้อมกันอย่างเร่งด่วนเพราะมันหมดเวลาแล้วจริงๆ
- "โควิด-19" กระทบสูงวัย
"ดร.นพ.ภูษิต ประคองสาย" เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โควิดในขณะนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของคนทุกลุ่มวัยไม่เฉพาะผู้สูงอายุ แต่สำหรับผู้สูงอายุมีผลกระทบสำคัญคือ ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ในเรื่องของการดูแลตัวเอง การเข้าถึงบริหารสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและมีโรคเรื้อรังที่อาจมีอาการหนัก เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงมาก
"ทั้งนี้ เราพบว่าครัวเรือนไทยเป็นครัวเรือนผู้สูงอายุจำนวนค่อนข้างมาก มีผลกระทบการดำเนินชีวิต ผลกระทบสุขภาพ ตลอดจนในเรื่องเบี้ยยังชีพ ซึ่งบางคนยังต้องทำงานอยู่ในส่วนผู้สูงอายุที่ต้องทำงานรับจ้างพอเกิดโควิด เขาก็เกิดปัญหาเรื่องของสถานประกอบการหรือภาคธุรกิจต่างๆ ที่ไม่สามารถทำงานได้ นอกจากนั้นยังมีเรื่องการเข้าถึงแอพลิเคชันต่าง การเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้ขาดการเข้าร่วมในกิจกรรม หรือการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ" ดร.นพ.ภูษิต
- การเตรียมพร้อม สู่สังคมสูงวัย
ดร.นพ.ภูษิต อธิบายต่อไปว่า สำหรับ การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงวัย ในมุมมองของแพทย์ หรือบุคลากรด้านสาธารณสุข คิดว่าโควิดจะอยู่กับเราอีกระยะหนึ่ง ผู้สูงอายุต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตและดูแลสุขภพของตัวเองมากขึ้น มีการปรับตัว ในเรื่องการใช้ดิจิตัลที่จะทำให้เราเข้าถึงการบริการของภาครัฐที่ให้กับประชาชน ผู้สูงอายุต้องปรับตัว ในอนาคตการไปโรงพยาบาลจะทำได้น้อยลงเพราะไม่ใช่สถานที่ปลอดภัย การรับวัคซีนต้องเร็วที่สุดและครอบคลุมที่สุด ผู้สุงอายุต้องเตรียมความพร้อมตัวเอง และต้องมีความมั่นคงทางด้านรายได้ เป็นเรื่องที่เราต้องมีการเตรียมความพร้อมในอนาคตด้วย ทั้งนี้เรื่องโควิดถ้าเราไม่สามารถทำให้ทุกคนปลอดภัยได้ เราก็จะไม่ปลอดภัย ดังนั้นเราจึงต้องมีความเป็นเอกภาพและความสามัคคีในเรื่องการดูแลความปลอดภัยของสุขภาพของคนทุกกลุ่ม
- ความสุข คือใช้ศักยภาพเต็มที่ 24 ชม.
ด้าน "นายวิรัตน์ สมัครพงศ์" เจ้าของเพจเกษียณแล้วทำอะไรดีวะ กล่าวว่า เราต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยเกษียณ ตนค้นพบว่า ชีวิตที่มีความสุขจริงๆ คือใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ 24 ชั่วโมง เราสามารถบริหารจัดการเวลาได้ทั้งการพักผ่อน และเรื่องอื่นๆ เราค้นพบตัวเองว่าความสุขคือการมีอุดมการณ์ การทำเพื่อชาติ บ้านเมืองและคนอื่น และคนที่คิดแบบตนมีเยอะ ตนพบแล้วจึงอยากชวนให้คนอื่นมาใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ จึงเปิดเพจขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ และยังเป็นการหารายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย
"เราเกิดในยุคอนาล็อกแล้วอพยพมาดิจิทัล เหมือนไปอยู่อเมริกาแล้วพูดภาษอังกฤษไม่ชัด จึงตัดสินใจเรียน การเรียนรู้มันไม่มีข้อจำกัดแต่อยู่ที่ระบบความคิดของแต่ละคน และต้องมีความอยากมากพอในการเรียนรู้ กระบวนเรียนรู้ของคนไม่เกี่ยวกับอายุ แต่เกี่ยวกับมายด์เซ็ท อยู่ที่หัวและใจ เส้นชัยของแต่ละคน ระยะทาง เป้าหมาย และเวลาของแต่ละคนไม่เท่ากัน เราก็ว่าตามเป้าหมายของเราและไปให้ถึงจุดนั้น"
- หาสิ่งที่ตัวเองชอบ และทำ
นายวิรัตน์ กล่าวต่อว่า ยุคนี้แม้ไม่มีโควิด รัฐก็มีปัญญาจ่ายประชาชนแค่ 600-700 บาท และยังขยายวงเงินกู้ออกไปอีกเรื่อยๆ เพราะต้องดูแลคนหนุ่มสาวที่ตกงานด้วย การหวังพึ่งรัฐบาลอย่างเดียวจึงทำไม่ได้ มันต้องพึ่งตัวเอง ตนก็เลยตั้งเป้า พัฒนาขีดความสามารถในการสร้างรายได้เพิ่ม พัฒนาความสัมพันธ์กับครอบครัว และฟังยูทูปซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด
"ทั้งนี้ หากผู้สูงอายุยังต้องการทำงานสร้างรายได้ลูกหลานอย่าไปห้าม เพราะทำให้เขาเกิดความแอคทีฟ ดังนั้น ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม หาสิ่งที่ตัวเองรักชอบ และถนัด จะออนไลน์ออฟไลน์ก็ทำไป ไม่มีใครสายเกินไปสำหรับการเรียนรู้ ไม่เกี่ยวกับอายุแต่มันอยู่ที่ระบบความคิด"
- "วัยเกษียณ" แฮปปี้ มีกิจกรรมทำ
"นางภรณี ภู่ประเสริฐ" ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สสส.) กล่าวว่า จากสถานการณ์สังคมสูงอายุที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี 2565 ซึ่งจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ท้าทายในการกำหนดนโยบาย มาตรการ แนวทางที่เหมาะสมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย รวมทั้งการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุและครอบครัวในการใช้ชีวิตร่วมกัน
โดยเฉพาะในช่วง สถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ประเด็นสำคัญนอกเหนือจากการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ เพื่อให้มีสุขภาพดี ช่วยเหลือ ดูแลตนเองได้อย่างยาวนานแล้ว ประเด็นการคุ้มครองทางสังคม โดยเฉพาะหลักประกันทางรายได้ของผู้สูงอายุยังเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงในระยะยาว เนื่องจากผู้สูงอายุยังคงมีรายจ่ายในการดำเนินชีวิต
ดังนั้น จึงเป็นโจทย์สำคัญในการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐในรูปแบบการจัดสวัสดิการอย่างถ้วนหน้า การส่งเสริมการมีอาชีพหรือการทำงานอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการมีกิจกรรมทางสงคม และพัฒนาเรียนรู้ ตนเองอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สสส. และภาคีเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดระบบความคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนากิจกรรม กระบวนการเรียนรู้สำหรับวัยสูงอายุที่เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์
รวมถึงการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย Young Happy พัฒนาหลักสูตร “เกษียณคลาส” ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ภายใต้แนวคิดที่ว่า บทเรียนวัยเกษียณ ที่จะเปลี่ยนชีวิตให้แฮปปี้ โดยเน้นสนุก เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง รวมทั้งสิ้นกว่า 15 บทเรียน ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงเทคโนโลยีควบคู่กับการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อเรียนรู้สิ่งสำคัญก่อนก้าวเข้าสู่วัยเกษียณ
นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรหลักสูตรผู้สูงวัยดิจิทัล ที่พัฒนาระบบโดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หลักสูตรนี้ครอบคลุมด้านสุขภาวะทั้งทางร่างกาย จิตใจ สภาวะแวดล้อม การประกอบอาชีพ ฯลฯ ที่สำคัญคือ เมื่อเรียนครบหลักสูตรแล้ว สามารถเก็บเป็นหน่วยกิตสำหรับการศึกษาในระบบของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชต่อไปได้อีกด้วย โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุเข้าถึงการมีสุขภาวะ มีความสุข และเป็นพลังของสังคมอย่างต่อเนื่อง
รับมือ คลื่นสึนามิ "สูงวัย" เกษียณแล้ว ทำอะไรต่อ - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment