ผู้เขียน | ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
---|
ทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
วิธีการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปได้แก่ วิธีของนักอนุรักษ์สภาพแวดล้อม (Environmentalists) และนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (conservationists) ซึ่งมีวิธีการต่างๆ อย่างที่พูดแล้ว
ข้อที่ 1 : “เรื่องคน” ก็ต้องวางนโยบายประชากร (Population policy) ให้ดี เน้นควบคุมจำนวนด้วยการวางแผนครอบครัว เป็นต้น
ประเทศไทยเรามีตัวอย่างการวางแผนครอบครัว ที่ได้ผลมาก จนทั่วโลกให้การยอมรับ และองค์การอนามัยโลกเคยประกาศชื่นชมว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในการวางแผนครอบครัวได้ดีเยี่ยม อัตราเพิ่มประชากร ปี 2525 เหลือร้อยละ 1.47 ต่อมาในปี 2530 ลดลงอีกเหลือร้อยละ 1.43 ถึงปี 2537 ลดลงอีกเหลือ 1.39 กะว่ากว่าจะถึงปี 2539 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนฯ จะลดเหลือร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ได้ผลจนกระทั่งนักเรียนจะไม่มีไปโรงเรียนหลายแห่งแล้ว
ยกตัวอย่างที่วัดมหาธาตุ เดี๋ยวนี้ก็ได้ยินข่าวมีปัญหาขัดแย้งกันอยู่ คือ โรงเรียนที่นั้นเคยมีนักเรียนเพิ่มขึ้นไปถึง 700 คน แต่ปัจจุบันเหลือ 200-300 คน ก็เลยมีผู้คิดจะเอาตึกไปใช้อย่างอื่น ทำให้มีการร้องเรียน อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาประชากรนั้น มิใช่ควบคุมจำนวน หรืออัตราเพิ่มขึ้นนั้นแต่ต้องทำด้านอื่นควบคู่ไปด้วย โดยสภาพการแก้ปัญหา “ความยากจน” ที่พบจำนวนมาก ต้องทำลายทรัพยากรธรรมชาติของคน ตลอดจนบีบให้คนยากจนไปรุกรานเบียดเบียนเอาปัจจัยสี่และวัตถุดิบจากธรรมชาติ
นอกจากนั้น ปัญหา “ความยากจน” นี้มีความซับซ้อนหลายอย่าง เช่น ยิ่งเศรษฐกิจของโลกเจริญเติบโตขึ้น ประเทศรวยก็ยิ่งรวยมากขึ้น ประเทศยากจนก็ยิ่งจนหนักลงไป ประเทศโลกที่สามก็ยิ่งเสียเปรียบประเทศอุตสาหกรรมมากขึ้น ดังเช่นคำของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศอินโดนีเซีย ที่หนังสือ Atlas & the Environment ยกมาอ้างว่า : เวลานี้ เราต้องส่งออกไม้แปรรูปมากกว่าเดิมเป็น 3 เท่า เพื่อจะซื้อรถแทรกเตอร์ได้คันหนึ่งเท่ากับที่เราเคยซื้อในช่วงทศวรรษ 1970-1979
ปัญหาความยากจนโยงต่อไปหาปัญหา “สุขภาพ” และโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อยากจน สุขภาพก็ยิ่งทรุดโทรมและไม่มีเงินบำบัดรักษาโรค เมื่อสุขภาพไม่ดี เช่น ป่วยมาก ก็ยิ่งทำให้ยากจนลง การแก้ปัญหาประชากร จึงต้องรวมถึงการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและการแพทย์ด้วย
การแก้ปัญหาประชากรที่เป็นพื้นฐานลึกลงไปและยาวไกล ก็คือ “การให้การศึกษา” ซึ่งครอบคลุมการแก้ปัญหาด้านอื่นๆ ทั้งหมด ทั้งปัญหาความยากจน ปัญหาด้านสาธารณสุข ตลอดจนให้ความรู้และฝึกอบรมประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่สำคัญยิ่ง ก็คือ “การศึกษา” หมายถึง การพัฒนาคน ซึ่งได้ยอมรับกันแล้วว่าจะให้เป็นแกนกลางของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) เรื่อง “การศึกษา” หรือ “พัฒนาคน” มีข้อที่จะต้องพิจารณาทำความเข้าใจกันอีกมาก
ข้อพิจารณามากมายนั้น ซึ่งอาจตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าการศึกษาที่จะให้หมายถึงการศึกษาในความหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การศึกษานั้นก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาไม่ยั่งยืนและจะทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาได้เลย เพราะด้วยการศึกษาแบบที่เป็นอยู่นี้ การที่คนร่ำรวยมั่งมีสุขภาพดีขึ้น ก็หมายถึงการที่จะบริโภคผลาญทรัพยากรธรรมชาติและระบายของเสียให้แก่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ต้องพูดอีกครั้ง
ข้อที่ 2 : เรื่องของ “ธรรมชาติ” หรือ “สิ่งแวดล้อม” ก็ใช้วิธีการอนุรักษ์ หรือการสงวนทรัพยากร (Conservation) ข้อนี้แยกได้ 2 ด้านใหญ่ๆ คือ การพิทักษ์รักษาบำรุงส่งเสริมสภาพธรรมชาติอย่างหนึ่ง และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (conservation) นี้ สหภาพนานาชาติเพื่อสงวนธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติ (International Union of conservation or Nature and Natural Resource) ได้ให้คำจำกัดความไว้ เมื่อ พ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) ในเอกสารยุทธศาสตร์พิทักษ์โลก (World conservation Strategy) ซึ่งเป็นที่ยอมรับมากที่สุด หมายถึง การจัดการให้มนุษย์ใช้ประโยชน์จากชีวภาพ อย่างอำนวยคุณประโยชน์ที่ยั่งยืนได้มากที่สุด พร้อมทั้งธำรงรักษาไว้ซึ่งศักยภาพของชีวภาพนั้นให้คงสามารถสนองความต้องการและความใฝ่ปรารถนาของมนุษย์รุ่นต่อไปในอนาคตได้สืบไปด้วย (Eneyel Britanniea, 1988,16.663)
วิธีการในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสงวนทรัพยากร มีมากมายหลายอย่างเริ่มตั้งแต่ การออกกฎหมายคุ้มครองป้องกัน การจัดตั้งสถาบัน หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ขึ้นมาดูแล ดำเนินงานการจัดเป็นเขตคุ้มครองป้องกัน เช่น จัดตั้งป่าสงวนวนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าการฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติที่เสื่อมโทรม การรักษาดิน น้ำ อากาศ ให้ปลอดสารเคมีและมลภาวะ การผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาโดยตรง เช่น เครื่องกำจัดน้ำเสีย ตลอดจนศึกษาการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) เสียใหม่ไม่กินอยู่อย่างสุรุ่ยสุร่าย ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย
โดยเฉพาะยุคสมัยปัจจุบัน นี่คือ “สังคมมนุษย์” ได้กลายเป็น “สังคมบริโภค” ไปแล้วนี้วิธีปฏิบัติเห็นกันมาก ก็คือ “การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ” การติดการบริโภคที่ไม่จำเป็น การใช้ยานยนต์ที่ประหยัดพลังงาน การซื้อสินค้าที่ทนทานและประหยัดการใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้เชื้อเพลิงน้อย การใช้สิ่งของต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ อะไรที่ใช้ได้อีกก็นำมาใช้ใหม่ (Reuse) เมื่อหมดประโยชน์จากภาวะนี้แล้วก็เอาไปใช้ประโยชน์อื่นต่อไป
วิธีใช้ใหม่อีก (Reuse) ที่เอาใจใส่กันอย่างขณะนี้ ได้แก่การปริวรรตหรือหมุนเวียนการใช้ (Recycling) คือ การนำสิ่งที่เสียไปแล้วไปนำกลับมาใช้ใหม่ หรือหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เช่น การ recycling paper การใช้หมุนเวียน หรือการเวียนใช้ (Recycling) นี้เป็นทางออกอย่างหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นวิธีประหยัดพลังงานด้วย คือ การใช้พลังงานน้อยลง วิธีนี้ถ้าเป็นที่นิยมมากในประเทศอเมริกาจะเห็นสินค้าต่างๆ มีการตีตราบอกไว้ เช่น บอกว่าหนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วย recycling paper คือ กระดาษใช้แล้วผลิตมาใช้ใหม่ ถุงนี้ทำจากการ recycling plastic คือ พลาสติกใช้แล้วหมุนเวียนผลิตมาใช้ใหม่
อีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ทรัพยากรที่กลับฟื้นตัวใหม่ได้ (Renewable Resources) เช่น กระแสลม เป็นทรัพยากรหมุนเวียนกลับไปกลับมาอยู่ไม่หายไปไหน เราก็เอามาใช้กับกังหันลมสำหรับวิดน้ำ หรือผลิตไฟฟ้า หรือผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงแดด ทำและผลิตจากพืชและสัตว์ ตลอดจนผ้า กระดาษ เป็นต้น เป็นของการฟื้นตัวใหม่ (renewable)
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการต่างๆ ที่เขาจะแก้ปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหาอย่างนี้ได้ ก็ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี ที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม และใช้มันในความหมายใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์ใหม่ เพราะฉะนั้นจึงต้องหันมาผลิตเทคโนโลยีที่เป็นฝ่ายสร้างสรรค์ หรือเทคโนโลยีในฝ่ายบทการผลิตและการใช้เทคโนโลยีมาในสภาพแบบนี้ไงเล่าครับ
ทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน - มติชน
Read More
No comments:
Post a Comment