“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ล่าสุดงานวิจัยเปิดเผยว่า เมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นเพียง 1 องศา จะทำให้อายุโดยเฉลี่ยของมนุษย์สั้นลงครึ่งปี
โลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว! จากการวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS Climate “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศา ทำให้คนอายุสั้นลงถึงครึ่งปี ถือเป็นอีกหนึ่งผลกระทบร้ายแรงของภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์
- อุณหภูมิ และปริมาณน้ำฝน สัมพันธ์กับอายุขัย
อามิท รอย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีชาห์จาลาล ในบังกลาเทศ ทำการศึกษาหาความเชื่อมโยงที่มีความซับซ้อนระหว่างอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และอายุขัยของสิ่งมีชีวิตใน 191 ประเทศในตลอด 80 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 1940-2020 โดยใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว เพื่อควบคุมความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆ ทำให้ได้ข้อสรุปใหม่เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างวิกฤติสภาพภูมิอากาศ และชีวิตมนุษย์
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้พัฒนา “ดัชนีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเชิงประกอบ” ที่รวบรวมข้อมูลอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน เพื่อให้เห็นภาพของปัญหาได้ละเอียดยิ่งขึ้น เนื่องจากทั้ง 2 ปัจจัย มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับส่งผลต่อสุขภาพ และปัจจัยด้านสาธารณสุขหลายประกาศ อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน รับมือยาก เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ น้ำท่วม คลื่นความร้อน ไปจนถึงภัยทางอ้อมแต่ก็สร้างความเสียหายไม่แพ้กัน ทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ และปัญหาสุขภาพจิต แม้ว่าผลกระทบเช่นนี้สามารถสังเกตได้ และบันทึกไว้อย่างดี แต่ก่อนหน้านี้ไม่มีการวิจัยที่สร้างความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับอายุขัยมาก่อน
- อุณหภูมิเพิ่ม 1 องศา ทำอายุสั้นลง ‘ครึ่งปี’
ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียล มีความเชื่อมโยงกับอายุขัยโดยเฉลี่ยของมนุษย์ที่ลดลงประมาณ 0.44 ปี หรือเทียบเท่ากับ 6 เดือน 1 สัปดาห์ สอดคล้องกับดัชนีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเชิงประกอบเพิ่มขึ้นถึง 10 จุด ทั้งอุณหภูมิ และปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้อายุขัยลดลง 6 เดือนเช่นเดียวกัน
เมื่อพิจารณาเฉพาะปริมาณน้ำฝน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอาจสร้างประโยชน์หรือส่งผลเสียได้ทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ ที่มีฝนตกหนักอยู่แล้วหรือพื้นที่ ที่ประสบภัยแล้ง
ทั้งนี้ อายุคาดเฉลี่ยหมายถึง ระยะเวลาที่มนุษย์อาจมีชีวิตอยู่ได้ โดยพิจารณาจากปัจจัยทางประชากร และส่วนบุคคล ขณะที่อายุขัยคือ อายุเฉลี่ยสูงสุดของประชากรกลุ่มหนึ่งๆ ที่ถูกสังเกตว่ามีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้
การศึกษานี้ยังแสดงให้เห็นว่ากลุ่มเปราะบางต่างๆ เช่น ผู้หญิง และประชากรในประเทศกำลังพัฒนาที่มีระบบการรักษาพยาบาลที่ไม่ดี และมีบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ จะได้รับผลกระทบโดยตรง สิ่งนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาให้ตรงเป้าหมาย และเท่าเทียม โดยให้ความสำคัญกับประชากรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ทั้งนี้ นักวิจัยยังต้องทำการศึกษาที่เจาะลึกถึงผลกระทบของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ไฟป่า สึนามิ ที่มีปัจจัยอื่นๆ ประกอบไม่ได้มีเพียงแค่อุณหภูมิ และปริมาณฝนเพียงเท่านั้น
- คนทั้งโลกต้องช่วยกันลดโลกร้อน
ดร. รอย ยังหวังว่าดัชนีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเชิงประกอบจะสร้างมาตรฐานการสนทนาระดับโลกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกลายเป็นตัวชี้วัดที่ใช้งานได้สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่มีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ พร้อมส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อสู้กับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังเป็นวิธีที่สำคัญลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีที่สุด ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมเชิงรุกเพื่อช่วยให้ชุมชนปรับตัวเข้ากับรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และรับมือกับสถานการณ์ที่คาดการณ์ได้ยากขึ้นให้ครอบคลุมได้มากที่สุด
“ภัยคุกคามระดับโลกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนหลายพันล้านคน ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะในวิกฤติด้านสาธารณสุข”
“เราต้องร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างปฏิบัติการเชิงรุก ถือเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องอายุขัยและปกป้องสุขภาพของประชากรทั่วโลก” ดร.รอย กล่าวสรุป
https://ift.tt/dPVCZTe
https://ift.tt/yHK5vCf
https://ift.tt/zvZR0Ue
https://ift.tt/LfhsaUD
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์
โลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว! อุณหภูมิโลกเพิ่ม 1 องศา ทำอายุสั้นลง 'ครึ่งปี' - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment