Rechercher dans ce blog

Monday, September 4, 2023

ทำอย่างไร? เมื่อไขมันในเลือดสูง - ไทยรัฐ

  • ภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถเกิดได้จากการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันชนิดอิ่มตัวและไขมันทรานส์ การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ กรรมพันธุ์
  • โรคประจำตัวบางชนิด สามารถทำให้ไขมันในเลือดสูงได้ เช่น โรคตับ ตับอ่อน ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะถุงน้ำในรังไข่จำนวนมาก โรคไตวาย โรคเบาหวาน หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ฮอร์โมน หรือยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัส HIV
  • ภาวะไขมันในเลือดสูงในระยะแรกมักไม่มีอาการ จะมีอาการเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อาการของภาวะหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาการเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก จากภาวะขาดเลือด

ไขมันในเลือดสูง คืออะไร

โดยปกติร่างกายสามารถสร้างไขมันได้จากตับเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการที่จำเป็นของร่างกาย เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมนต่างๆ แต่หากมีการรับประทานไขมันจากอาหารมากเกินไป มีโรคทางพันธุกรรม มีการใช้ยา หรือสารต่างๆ ที่ทำให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายผิดปกติก็จะทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้

ไขมันในเลือดสูง คือไขมันชนิดไหน

ไขมันในเลือดมีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีต่อร่างกาย โดยจะทราบได้จากค่าผลการตรวจไขมันในเลือด ผู้ทำการตรวจต้องงดอาหารก่อนทำการตรวจเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงค่าไขมันต่างๆ ดังนี้

  • Total cholesterol เป็นค่าคอเลสเตอรอลรวมในร่างกาย โดยรวมทั้งชนิด HDL, LDL และ non-HDL
  • Low density lipoprotein (LDL) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี หากมีไขมันชนิดนี้สูงจะทำให้มีการสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ หลอดเลือดเปราะ เสี่ยงต่อการแตกและตีบตัน
  • High density lipoprotein (HDL) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี จะช่วยนำคอเลสเตอรอลไปใช้ ลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด
  • Non-HDL เป็นผลของ Total cholesterol หักด้วย HDL จึงประกอบด้วย LDL และไขมันชนิดอื่นๆ เช่น very-low-density lipoprotein (VLDL) ซึ่งรวมถึง Triglycerides ด้วย เนื่องจาก triglycerides สามารถสะสมในหลอดเลือดและทำให้เกิดหลอดเลือดตีบแคบ และผลเสียอื่นๆ ได้คล้ายกับ LDL จึงจัดเป็นไขมันชนิดที่ไม่ดี

ค่าไขมันในเลือด แบบไหนผิดปกติ

ค่าไขมันในเลือดที่ปกติมีความแตกต่างไปตามอายุและเพศ โดยทั่วไปแล้วในผู้ที่อายุมากกว่า 20 ปี ควรมีค่าดังนี้

  • Total cholesterol : < 200 mg/dL
  • LDL: < 130 mg/dL
  • Triglycerides: < 150 mg/dL
  • HDL: มากกว่า 40 mg/dL ในเพศชาย และมากกว่า 50 mg/dL ในเพศหญิง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถเกิดได้จากการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันชนิดอิ่มตัวและไขมันทรานส์ การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ กรรมพันธุ์ การมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคตับ ตับอ่อน ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะถุงน้ำในรังไข่จำนวนมาก โรคไตวาย โรคเบาหวาน หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ฮอร์โมน หรือยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัส HIV เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไขมันในเลือดสูง เช่น การมีประวัติไขมันสูงในครอบครัว มีภาวะอ้วน การกินอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ เป็นต้น

ถ้าปล่อยให้ไขมันในเลือดสูงจะเป็นอย่างไร

หากปล่อยให้มีภาวะไขมันในเลือดสูง จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่างๆ ดังนี้

  • ภาวะหัวใจขาดเลือด
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้น
  • โรคไต

อาการไขมันในเลือดสูง

โดยทั่วไปในระยะแรกมักไม่มีอาการใดๆ แต่ภาวะไขมันในเลือดสูงมักมีอาการเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อาการของภาวะหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาการเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก จากภาวะขาดเลือด เป็นต้น

ในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์ อาจมีอาการแสดงเช่น ไขมันบนผิวหนัง (xanthomas) โดยเฉพาะบริเวณหางตา หรือวงไขมันรอบกระจกตา (corneal arcus) 

ภาวะไขมันในเลือดสูง มักสัมพันธ์กับโรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินจึงควรตรวจระดับไขมันในเลือดเป็นประจำ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก็อาจมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดได้เช่นเดียวกัน

วิธีการดูแลตัวเองเมื่อมีภาวะไขมันในเลือดสูง

เมื่อตรวจพบภาวะไขมันในเลือดสูง หากระดับไม่สูงมาก แพทย์อาจแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน ขนม เบเกอรีต่างๆ เน้นการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก

แต่หากปริมาณไขมันในเลือดสูงมาก หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดไขมันเพื่อช่วยลดระดับไขมันในเลือด

อาหารสำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง

คอเลสเตอรอลสูง ควรกินอะไร 

  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง
  • ปลา โดยเฉพาะปลาทะเล อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 มื้อ
  • ไข่ขาว เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี ไม่มีไขมัน และมีแคลอรีต่ำ
  • ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated Fatty Acid=PUFA) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น เพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ปริมาณที่ควรรับประทานคือ 10% ของพลังงานที่ต้องการต่อวัน หรือประมาณ 2 ช้อนชาถึง 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated Fatty Acid=MUFA) ในการประกอบอาหาร เพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล เช่น น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง ควรได้รับ 10-15% ของพลังงานที่ต้องการต่อวัน หรือประมาณวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะ อาจรับประทานไขมันชนิดนี้ในรูปของถั่วลิสง เนยถั่ว ถั่วเปลือกแข็ง (Nut) ก็ได้ รับประทานธัญพืชไม่ขัดสี โดยเฉพาะข้าวโอ๊ตที่ขัดสี และผลิตภัณฑ์ที่มีเบต้ากลูแคน (Beta glucan) ซึ่งเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble fiber) และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ผักและผลไม้ ควรรับประทานให้มากเป็นประจำ หากเป็นเบาหวานร่วมด้วย ควรปรึกษานักโภชนาการถึงปริมาณของผลไม้ที่เหมาะสมในการบริโภคต่อวัน
    ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น และผลิตภัณฑ์ถั่วแทนเนื้อสัตว์ เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น
  • ดื่นนมและผลิตภัณฑ์จากนมชนิดพร่องไขมัน หรือขาดไขมัน แทนชนิดไขมันครบส่วน
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

คอเลสเตอรอลสูง ห้ามกินอะไร / อาหารที่ควรงด

  • เนื้อสัตว์ติดหนัง ติดมัน เช่น แคปหมู ปีกไก่ หมูสามชั้น เป็นต้น
  • เครื่องในสัตว์ เช่น สมอง ตับ กระเพาะ เป็นต้น
  • ไข่แดงของสัตว์ต่างๆ เช่น ไข่ปลา มันกุ้ง ถ้าต้องการรับประทานทั้งฟอง ควรรับประทานอาทิตย์ละไม่เกิน 3 ฟอง
  • น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง (Saturated Fatty Acid) ได้แก่ น้ำมันเม็ดปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ และไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันพวกนี้เป็นส่วนประกอบ เช่น มันแกงบวด
  • น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง (Saturated Fatty Acid) ได้แก่ น้ำมันเม็ดปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ และไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันพวกนี้เป็นส่วนประกอบ เช่น มันแกงบวด กุนเชียง ช็อกโกแลต ไส้กรอกต่างๆ ไอศกรีม เนยสด เนยครบส่วน
  • อาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น ขนมอบ เบเกอรีต่างๆ เค้ก คุกกี้ มาการีน เนยขาว

นอกจากนี้ควรเพิ่มเอชดีแอลโดย

  • การมีวิถีการดำเนินชีวิตที่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ใช้พลังงาน
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ซึ่งควรให้เหมาะสมกับสุขภาพ และวัยของแต่ละบุคคล
  • การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังช่วยเพิ่มเอชดีแอลในเลือดได้

อาหารสำหรับผู้ที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง

ไตรกลีเซอไรด์สูง อาหารที่ควรรับประทาน

  • รับประทานอาหาร ข้าว แป้ง เผือก มัน ในปริมาณที่พอเหมาะกับตนเอง
  • รับประทานธัญพืช และผลิตภัณฑ์ธัญพืชที่ไม่ขัดสีจนขาว เช่น รับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว ขนมปังโฮลวีตแทนขนมปังขาว
  • รับประทานผลไม้ไม่หวานจัด และมีกากมาก เป็นประจำ
  • รับประทานผักให้มาก โดยเฉพาะผักตระกูลใบ
  • ถ้าต้องการรับประทานขนม ควรเลือกขนมไม่หวานจัด ใส่น้ำตาลน้อย และมีแป้งน้อย เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล เต้าฮวย เป็นต้น และรับประทานนานๆ ครั้ง
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ปลา เนื้อไก่ส่วนอก เนื้อหมูไม่ติดมัน เป็นต้น นอกจากนี้ควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ไตรกลีเซอไรด์สูง ห้ามกินอะไร / อาหารที่ไม่ควรรับประทาน

  • ขนมหวานจัด เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ของเชื่อม เป็นต้น
  • ขนมอบต่างๆ เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมปังหวาน และขนมปังที่มีไส้หวานต่างๆ
  • ผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ละมุด น้อยหน่า ขนุน เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาลในการปรุงอาหาร ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำตาลควรใช้แต่น้อย
  • แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
  • อาหารที่ทอดในน้ำมันมากๆ เช่น ปาท่องโก๋ ไข่เจียว กล้วยแขก มันทอด เป็นต้น
  • อาหารที่มีกะทิ เช่น แกงกะทิต่างๆ ขนม แกงบวดต่างๆ ข้าวเหนียวมูน เป็นต้น

Adblock test (Why?)


ทำอย่างไร? เมื่อไขมันในเลือดสูง - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

พระครู เชิญวิญญาณ เมียฝรั่ง เผยต้องทำพิธี 3รอบ ตร.เจอเรื่องแปลก - ข่าวสด - ข่าวสด

พระครู ทำพิธีเชิญดวงวิญญาณ เมียฝรั่ง ถูกฆ่าทิ้งไร่ข้าวโพด เผยสิ่งผิดปกติ ต้องทำพิธีถึง 3 รอบ ด้าน พนักงานสอบสวน เล่าเรื่องแปลก ก่อนวันผู้ต้อ...