แนวทางที่ 2 ซื้อที่ดินเพื่อเป็นทางเข้า-ออกเพิ่มเติม กรณี ฝั่งถนนอโศกมนตรี หากของเดิมมีทางเข้า-ออกติดถนนอโศกอยู่แล้วกว้าง 6.4 เมตร ก็หาซื้อที่ดินที่ติดกับทางเข้า-ออกนี้เพิ่มเติมให้ได้ไม่น้อยกว่า 12 เมตรตามกฎหมาย โดยการเจรจากับทางสยามสมาคมฯ ที่ตั้งอยู่ติดกับที่ดินที่เป็นทางเข้า-ออกปัจจุบัน แต่ก็คงไม่ง่าย เพราะสยามสมาคมฯ เป็นหนึ่งในผู้ฟ้องร้องโครงการนี้เช่นกัน หรือหากเกิดการตกลงจะซื้อ-ขายกันได้ขึ้นมาราคาก็คงมหาศาลมาก แต่ก็คงไม่สูง เพราะต้องการที่ดินอีกประมาณ 100 ตารางวา จะไปจบที่ตารางวาละเท่าใดก็ว่ากันไป แต่คงไม่ง่ายขนาดนั้น
เช่นเดียวกับ ฝั่งซอยสุขุมวิท 19 ซึ่งมีความเป็นไปได้มากกว่า และมีหลายคนพูดถึงกันมาก เพราะซอยสุขุมวิท 19 แยก 2 ที่เชื่อมต่อกับที่ดินของโครงการนี้มีความกว้าง 4 เมตร สามารถหาซื้ออาคารพาณิชย์ที่อยู่ทั้ง สอง ฝั่งของซอยนี้เพิ่มเติมเพื่อให้มีทางเข้า-ออกถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าอาจจะต้องซื้อที่ดินเพื่อเปิดทางรวมแล้วประมาณ 291.3 ตารางวาตามที่คำนวณไว้ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 873.9 ล้านบาท หรือตารางวาละ 3 ล้านบาทไปเลย ซึ่งอาจจะมองว่าสูงแล้วแต่อาจจะสูงกว่านี้ได้อีก หากไม่อยากขายจริงๆ และต้องซื้อให้ได้ทั้งหมดแบบ 100%
ทั้งสอง ทางออกที่ต้องมีการซื้อที่ดินเพื่อเปิดทางเข้า-ออกนี้ล้วนต้องใช้เงิน แต่อย่างไรก็ตาม มูลค่าของเงินที่ต้องจ่ายออกไป ถึงอย่างไรก็น้อยกว่าการเสียโครงการนี้ไป
แนวทางที่3 การนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีทันทีที่มีการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อขอให้มีการพิจารณาเรื่องการขออนุมัติธุรกรรมเจ้าปัญหาของทางเจ้าของโครงการและทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือรฟม. โดยเป็นการพิจารณาและอนุมัติย้อนหลังซึ่งไม่แน่ชัด ว่าเป็นไปได้หรือไม่ และจะทำได้เมื่อใด
อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ 2 เป็นแนวทางในการแก้ไขที่ทางเจ้าของโครงการสามารถทำได้เลย และมูลค่าของเงินที่ต้องจ่ายออกไปไม่สูงมาก และเมื่อทางเจ้าของโครงการยังมียูนิตเหลือขายอยู่ในโครงการอีกประมาณ 13% ของมูลค่าโครงการ 6,481 ล้านบาท ดังนั้น เจ้าของโครงการมีความเป็นไปได้ที่จะขายได้เงินกลับมาประมาณ 842.5 ล้านบาท เมื่อหักกลบกับส่วนที่ต้องจ่ายค่าที่ดินก็ยังพอเป็นไปได้
กรณีดำเนินการแบบนี้ได้จะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายอย่างแท้จริง และส่วนที่เหลือของโครงการน่าจะขายได้หมดตามที่ตั้งใจ เพราะปัญหาเรื่องนี้ได้รับการแก้ไขแล้ว ขณะกรุงเทพมหานครเองได้เปิดทางให้แล้วว่าสามารถออกใบอนุญาตก่อสร้างให้ถูกต้องได้ ถ้าปัญหาเรื่องของทางเข้า-ออกได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าจะด้วยแนวทางใด
เรื่องนี้นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า แม้ว่าโครงการแอชตัน อโศกจะถูกศาลให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง แต่ก็สามารถไปแก้ไขให้ถูกต้องได้
ผ่าทางตัน คดีแอชตัน อโศก หาที่ดินทำถนนเข้า-ออกสุดหิน ชงครม.ใหม่อุ้มลูกบ้าน - ฐานเศรษฐกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment