พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ขณะนี้มีการรายงานสถานการณ์ทั่วโลกและการศึกษาในประเทศไทยที่พบว่า กลุ่มวัยที่อายุน้อย วัยรุ่น หรือวัยทำงานตอนต้น มีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายได้
เพราะมีหลายปัจจัยจากสถานการณ์โควิด 19 และภัยคุกคามอื่นๆที่ทำให้เยาวชนและวัยรุ่น ต้องปรับการดำเนินชีวิต เช่น
- การใช้เวลาเรียนทำงานออนไลน์มากกว่าการพบปะเพื่อนและสังคมตามภาวะปกติ อาจทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ส่งผลทั้งปัญหาสุขภาพและปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
- บางรายแม้จะเครียดมาก แต่พฤติกรรมภายนอกไม่แสดงออก แต่ในใจมีอาการดำดิ่งสู่ความเจ็บปวดอย่างรุนแรงจนนำไปสู่การตัดสินใจด้วยอารมณ์ที่นำมา ซึ่งความเสียใจให้กับคนรอบข้าง
เช่น ความกดดันของวัยเรียนที่กลัวว่าจะไม่สามารถทำตามความคาดหวังของครอบครัว นำไปสู่การทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตาย เพราะเข้าใจว่าการกระทำนั้นเป็นทางเลือกที่ต้องการเผชิญหน้าหรือรับมือแต่เพียงคนเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เปิดผลสำรวจพฤติกรรมนักศึกษาไทย น่าห่วงสุขภาพจิต ทำร้ายตัวเอง หนี้นอกระบบ
"ปัญหาสุขภาพจิต"เด็กและวัยรุ่นไทย เรื่องใหญ่!
วิธีรับมือเบื้องต้น
การช่วยเหลือเบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เมื่อมีความรู้สึกหดหู่
- ให้มองด้านบวก
- นึกถึงคุณค่าของตนเอง
- ปล่อยวางความคิด
- ปรับวิธีคิดให้แตกต่างไปจากเดิมจะช่วยให้หาทางออกในการแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น
หากไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
- การขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด
- การรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญเป็นวิธีที่จะสามารถช่วยได้
“การตัดสินใจขอความช่วยเหลือเหล่านั้นไม่ได้เป็นการสร้างภาระ เปรียบเหมือนการมองหาเข็มทิศที่จะช่วยในการรับมือต่อสู้กับความคิดของตนเอง เพื่อก้าวผ่านสถานการณ์ที่รุมเร้าได้”พญ.อัมพรกล่าว
ข้อปฏิบัติคนใกล้ชิด
คนใกล้ชิด ครอบครัว ครู อาจารย์และเพื่อน ต้องช่วยกันเติมพลังใจให้แก่กัน
- ไม่ตำหนิความคิดหรือการตัดสินใจของบุคคลเหล่านั้น
- พร้อมกับรับฟังปัญหาอย่างตั้งใจ โดยไม่ใช้ความคิดของตนเองเข้าไปตัดสิน
- ร่วมสะท้อนสภาวะจิตใจว่าความเศร้าหรือความเครียดที่กำลังเผชิญอยู่นั้น มีต้นตอมาจากไหน แนะนำว่าควรจะจัดการร่วมกันอย่างไร
นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิต ยังดำเนินการเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ มุ่งหน้าทำให้ดีที่สุดเพื่อรักษาทุกชีวิตให้ได้มากที่สุด และยังเน้นการช่วยเหลือเพื่อป้องกันปัญหาตั้งแต่ต้นทาง ไม่ใช่เพียงการป้องกันไม่ให้ทำร้ายตัวเอง แต่ทำให้คนมีความทุกข์น้อยลงและยังสามารถช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสังคมอีกด้วย
พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า เมื่อมีปัญหาในการจัดการอารมณ์ ภาวะเครียด ซึมเศร้า ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการอย่างไร
1.สามารถเริ่มจากการประเมินสุขภาพใจได้ทาง www.วัดใจ.com ซึ่งเป็นการประเมินสุขภาพใจของตนเองผ่านแบบสอบถาม สามารถบอกได้เบื้องต้นว่ามีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในระดับใดบ้าง
2.ผู้ที่มีปัญหาชัดเจนเรื่องอารมณ์ซึมเศร้าหรือมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง สามารถประเมินความเสี่ยงต่อซึมเศร้าหรือทำร้ายตนเองที่ปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อ Dmind ผ่านไลน์หมอพร้อม โดยเข้าไปที่ฟังชั่นคุยกับหมอพร้อม แล้วกดตรวจสุขภาพใจ จะได้พูดคุยและประเมินผ่านปัญญาประดิษฐ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับคุณหมอ
ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 พบว่ามีจำนวนผู้เข้าใช้งานประเมินซึมเศร้าผ่านระบบ Dmind ผ่านทางระบบหมอพร้อม จำนวนทั้งหมด 72,610 ราย พบว่า ภาวะสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติและพบปัญหาสุขภาพจิต
- ระดับน้อย ร้อยละ 75.92
- ระดับปานกลางร้อยละ 16.61
- ระดับรุนแรง ร้อยละ 7.47
หากนับจำนวนแล้วพบว่าในกลุ่มระดับรุนแรงมีจำนวนถึง 5,427 ราย
จำนวนนี้ผู้ที่ยินยอมให้ติดตามช่วยเหลือสามารถดำเนินการได้ถึง ร้อยละ 70.04
3.ผู้ประเมินพบว่าตนเองพบว่ามีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต สามารถให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขประสานกลับไปเพื่อดูแล
ช่องทางให้การปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต1323 ฟรี ตลอด24 ชั่วโมง
จากข้อมูลช่วงเดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 สายด่วน1323 ได้ให้บริการถึง 95,029 ราย
- กลุ่มที่อายุ 12-18 ปี มีจำนวน 7,369 คน
ปัญหาที่ขอรับปรึกษามากที่สุด 3 ลำดับ คือ ปัญหาครอบครัว ความรักและการเรียน
- ขณะที่กลุ่มอายุ 18-29 ปี มีจำนวน 28,421คน
ปัญหาที่ขอรับปรึกษามากที่สุด 3 ลำดับ คือ ปัญหาความรัก ครอบครัวและการทำงาน
ปัจจุบันได้มีเพิ่มระบบนัดผ่านhttps://ift.tt/9RCetAf เพื่อผู้รับบริการเลือกรับวันเวลาที่สะดวกได้อีกด้วย
“ทุกปัญหามีทางออกและสามารถแก้ไขได้เสมอ การเก็บสะสมไว้จนเกิดความเครียด ความทุกข์ จะยิ่งสร้างความรู้สึกที่แย่ลง การจบชีวิตหรือการตัดสินใจเพื่อใครนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดีและไม่ใช่สิ่งที่คนที่คุณรักต้องการอีกด้วย เพราะในวันที่รู้สึกว่าไม่เหลือใครอาจยังมีใครที่ยังห่วงใยเราอยู่ ผ่านพ้นเวลาที่อ่อนล้า ด้วยจิตใจที่ไม่อ่อนแอ”พญ.วิมลรัตน์กล่าว
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำคนรุ่นใหม่ "หดหู่ เครียด ซึมเศร้า" และวิธีการรับมือ - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment