ทันทีที่ผู้บาดเจ็บหยุดหายใจ ต้องได้รับการช่วยเหลือให้คืนชีพภายใน 4 นาที ไม่เช่นนั้นสมองจะตายและเสียชีวิตได้ แนะวิธีการ CPR ที่ทุกคนต้องรู้ เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ฝันร้ายและคราวที่เราต้องเป็นผู้ช่วยจะเกิดขึ้นกับเรา
จากโศกนาฏกรรมอิแทวอน เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีคนขาดอากาศหายใจหาย เสียชีวิตจำนวนมาก หนึ่งในผู้เสียชีวิตเป็นคนไทย 1 คน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า การทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation) ซึ่งเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้เอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินเพราะไม่รู้เมื่อไหร่ที่เราจะพบผู้ป่วยฉุกเฉินหรือคนใกล้ตัวที่ต้องการความช่วยเหลืออาทิ ผู้ป่วยหัวใจวาย,ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน,ภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจกำลังจะหยุดเต้น คนจมน้ำ ถูกไฟดูดสำลักควันไฟหรือก๊าซพิษ รวมทั้งอุบัติเหตุอื่นๆด้วย
วิธีเอาตัวรอด หนีจากฝูงชนแสนแออัด
ถอดบทเรียนโศกนาฏกรรม 'อิแทวอน' กับอาจารย์ ไพบูลย์ ปีตะเสน
การทำ CPR ไม่ยาก หากรู้และเข้าใจทำได้ถูกวิธีจะสามารถช่วยต่อชีวิตผู้ที่ถูกช่วยเหลืออย่างแน่นอน ก่อนอื่นผู้ช่วยเหลือต้องมีสติ ที่สำคัญการทำ CPR ต้องทำอย่างถูกต้องภายใน 4 นาที เพราะหากสมองขาดออกซิเจนเกิดกว่านั้น สมองอาจเสียหายและเสียชีวิตในที่สุด
ดังนั้นจึงมีการบัญญัติ "ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต" (Chain of Survival) เพื่อเป็นหลักการช่วยฟื้นคืนชีพแนวทางเดียวกันทั่วโลก
- ประเมินผู้ป่วยว่ายังรู้สึกตัวอยู่หรือไม่ หากไม่มีสติ คลำหาชีพจรไม่พบ ควรเรียกขอความช่วยเหลือหรือเรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงานต่าง ๆ ทันที เช่น ศูนย์เอราวัณ เฉพาะในพื้นที่ กทม.โทร. 1646, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669 ทั่วประเทศ
- ทำ CPR กดหน้าอกอย่างถูกต้องและทันท่วงที
- การทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ (AED) ภายใน 3-5 นาที เมื่อมีข้อบ่งชี้
- การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ
- การดูแลภายหลังการช่วยฟื้นคืนชีพ
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
- ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก
- หัวใจหยุดเต้น
แนวทางการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญ ดับขั้นตอน C-A-B (Chest compression-Airway-Breathing) เนื่องจากการกดหน้าอกก่อนจะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนสำคัญ เช่น หัวใจและสมอง ซึ่งการทำ CPR ต้องทำจนกว่ากู้ชีพจะมาถึง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะรู้สึกตัว
- กดหน้าอก (C) 30 ครั้ง เปิดทางเดินหายใจ (A) ช่วยหายใจ (B) 2 ครั้ง = 30 : 2
- C : Chest compression คือการกดหน้าอก ปั๊มหัวใจช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีการไหลเวียนของเลือดในร่างกายอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้หลักในการปั๊มหัวใจ คือ ต้องกดให้กระดูกหน้าอก (Sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอันถูกกดไปด้วย โดยเป็นการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย
- ให้ผู้บาดเจ็บนอนราบกับพื้นแข็ง ๆ หรือใช้ไม้กระดานรองที่หลังของผู้บาดเจ็บ ผู้ปฐมพยาบาลคุกเข่าลงข้างขวาหรือข้างซ้ายบริเวณหน้าอกผู้บาดเจ็บ คลำหาส่วนล่างสุดของกระดูกอกที่ต่อกับกระดูกซี่โครง โดยใช้นิ้วสัมผัสชายโครงไล่ขึ้นมา (หากคุกเข่าข้างขวาใช้มือขวาคลำเพื่อหากระดูกอก แต่หากคุกเข่าข้างซ้ายให้ใช้มือซ้ายคลำ)
- วางนิ้วชี้และนิ้วกลางตรงตำแหน่งที่กระดูกซี่โครงต่อกับกระดูกอกส่วนล่างสุด(ระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง) วางสันมืออีกข้างบนตำแหน่งถัดจากนิ้วชี้และนิ้วกลางนั้น ซึ่งตำแหน่งของสันมือที่วางอยู่บนกระดูกหน้าอกนี้จะเป็นตำแหน่งที่ถูกต้องในการปั๊มหัวใจต่อไป
- วางมือข้างที่ถนัดทับลงบนหลังมือที่วางในตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วเหยียดนิ้วมือตรง จากนั้นเกี่ยวนิ้วมือทั้ง 2 ข้างเข้าด้วยกัน เหยียดแขนตรง โน้มตัวตั้งฉากกับหน้าอกผู้บาดเจ็บ ทิ้งน้ำหนักลงบนแขนขณะกดหน้าอกผู้บาดเจ็บ กดให้ลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) สำหรับผู้ใหญ่ ใน เด็กให้กดลงอย่างน้อย 1/3 ของความลึกทรวงอก (ประมาณ 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร) ส่วนในเด็กแรกเกิดหรือเด็กอ่อน การปั๊มหัวใจให้ใช้เพียงนิ้วหัวแม่มือกดกลางกระดูกหน้าอกให้ได้อัตราเร็ว 100–120 ครั้งต่อนาที โดยใช้นิ้วมือโอบรอบทรวงอกสองข้างแล้วใช้หัวแม่มือกดซึ่งต้องให้ ช่วงเวลาการกดแต่ละครั้งคงที่ และจังหวะการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจพอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการ ให้ใช้วิธีนับจำนวนครั้งที่กด
- กดทุกครั้งที่นับตัวเลข และปล่อยตอนคำว่า “และ” สลับกันไป ให้ได้อัตราการกดอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที (ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล) ตัวอย่าง 1 และ2 และ3 และ4 และ5... ทั้งนี้ขณะกดหน้าอกปั๊มหัวใจ ห้ามนำมือออกจากตำแหน่งเดิมและห้ามใช้นิ้วมือกดลงบนกระดูกซี่โครงผู้บาดเจ็บ
- ควรกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการผายปอด 2 ครั้ง และควรมีผู้ช่วยเหลืออย่างน้อย 2 คน เพื่อสลับกันทำเพื่อความต่อเนื่องไปจนกระทั่งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจมาถึง และพร้อมใช้งาน หรือมีบุคลากรทางการแพทย์เข้ามาดูแลผู้ป่วย
- ระวังกระดูกซี่โครงผู้ป่วยหัก ต้องวางมือให้อยู่ตรงกลางหน้าอก ไม่ต้องค่อนไปทางซ้าย หรือใกล้หัวใ
- แม้ต้องกดหน้าอกให้เร็วและแรง ด้วยอัตราความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที แต่อย่ากระแทก
- หลังการกดแต่ละครั้งต้องปล่อยให้อกคืนตัวจนสุด เพื่อให้หัวใจรับเลือดสำหรับสูบฉีดครั้งต่อไป หากไม่ปล่อยให้หน้าอกคืนตัวจนสุด จะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง
- กดหน้าอกให้ต่อเนื่องให้ได้มากที่สุด โดยสามารถหยุดการกดหน้าอกได้ไม่เกิน 10 วินาที
- ไม่ควรใช้วิธีช่วยหายใจมากเกินไป
- บุคคลทั่วไปที่ไม่เคยเข้ารับการอบรมการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานมาก่อน ควรทำการกดหน้าอกแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องช่วยหายใจ เนื่องจากในช่วงแรกที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดยังเพียงพออยู่อีกระยะหนึ่ง และในขณะที่มีการกดหน้าอกนั้นการขยายของทรวงอกจะทำให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ โดยเน้นให้กดหน้าอกที่แรงและเร็ว ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตควรจะทำการกดหน้าอกแต่เพียงอย่างเดียวต่อไปจนกระทั่งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจมาถึงและพร้อมใช้งาน หรือมีบุคลากรทางการแพทย์มาดูแลผู้ป่วย
B “Breathing”: หายใจเพื่อคน
การช่วยหายใจอาจเป็นการหายใจแบบปากต่อปากหรือการผายปอด หากปากได้รับบาดเจ็บสาหัสหรืออ้าปากไม่ได้ คำแนะนำในปัจจุบันแนะนำให้ทำการช่วยหายใจโดยใช้อุปกรณ์ปิดปากถุงที่มีตัวกรองฝุ่นละอองประสิทธิภาพสูง (HEPA)
- หลังจากเปิดทางเดินหายใจแล้ว (โดยใช้ท่าเอียงศีรษะยกคาง) บีบรูจมูกที่ปิดไว้เพื่อหายใจแบบปากต่อปากและปิดปากของบุคคลนั้นด้วยการปิดผนึก
- เตรียมช่วยหายใจสองครั้ง หายใจเข้าช่วยครั้งแรก – นานหนึ่งวินาที – และดูว่าหน้าอกเพิ่มขึ้นหรือไม่
- หากหน้าอกสูงขึ้นให้หายใจครั้งที่สอง
- ถ้าหน้าอกไม่สูงขึ้นให้ทำซ้ำท่าเอียงศีรษะยกคางแล้วหายใจครั้งที่สอง การกดหน้าอกสามสิบครั้งตามด้วยการช่วยหายใจสองครั้งถือเป็นหนึ่งรอบ ระวังอย่าให้หายใจเข้ามากเกินไปหรือหายใจแรงเกินไป
- กดหน้าอกต่อเพื่อฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือด
- ทำ CPR ต่อไปจนกว่าจะมีสัญญาณการเคลื่อนไหวหรือบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินเข้ามา
ข้อมูลสุขภาพ : กระทรวงสาธารณสุข,กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ,safesiri
แนะจุดสังเกตไฟฟ้ารั่วไหล-วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยถูกไฟดูดหมดสติ-ไม่หายใจ
วิธีทำ CPR 4 นาทีแห่งการต่อชีวิตผู้ป่วยหยุดหายใจฉุกเฉินอย่างเร่งด่วน - PPTVHD36
Read More
No comments:
Post a Comment