Rechercher dans ce blog

Tuesday, September 6, 2022

ภาวะ "หัวใจหยุดเต้น" ภัยเงียบ วัยทำงาน ทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน - กรุงเทพธุรกิจ

สถานการณ์ปัจจุบันที่องค์กรและบริษัทต่าง ๆ เริ่มให้พนักงานกลับมาทำงานตามปกติ สิ่งสำคัญที่องค์กรต้องคำนึงถึงเมื่อพนักงานกลับเข้าออฟฟิศอีกครั้ง คือ ภาวะสุขภาพของคน วัยทำงาน ไม่เพียงเฉพาะโรคอุบัติใหม่ แต่หลายครั้ง ภัยเงียบ ทางสุขภาพเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว

โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน (Sudden Cardiac Arrest หรือ SCA) เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบใกล้ตัวที่ไร้สัญญาณเตือนที่คร่าชีวิตผู้คนมากมายในแต่ละปี และสามารถเกิดได้กับทุกคนในทุกที่ทุกเวลา รวมถึงในที่ทำงาน การเตรียมแผนการสื่อสารด้านการปฐมพยาบาลที่เหมาะสมและการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน รวมถึงการติดตั้งใช้งานอุปกรณ์ช่วยชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรและบริษัทต้องตระหนักถึงเมื่อเรากลับมาทำงานตามปกติอีกครั้ง เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ (SHAWPAT) จึงได้ผนึกกำลังความร่วมมือกับ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) และ บริษัท เจี่ยรักษา จำกัด จัดงานเสวนาหัวข้อ “AED: กุญแจสำคัญสู่การรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน” เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของ การปฐมพยาบาล โดยใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) และการติดตั้งเครื่อง AED ในพื้นที่ทำงานและอาคารต่าง ๆ

โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้องค์กร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องได้รับความรู้ความเข้าใจในหลักการปฐมพยาบาลและการใช้เครื่อง AED อย่างถูกต้อง ปรับเปลี่ยนชุดเครื่องมือปฐมพยาบาลให้เหมาะสมและทันสมัย พร้อมแผนสื่อสารด้านการช่วยชีวิตผู้ป่วยขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้เกณฑ์ปฏิบัติในระยะยาวต่อไป

ภาวะ "หัวใจหยุดเต้น" ภัยเงียบ วัยทำงาน ทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

อันตรายของภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน 

ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบบ่อยในผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีอายุระหว่าง 30-40 ปีซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า เป็นภาวะที่เกิดจากการที่หัวใจสูญเสียการทำงานกะทันหัน ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกซิเจนไปยังร่างกายได้อย่างเพียงพอ และทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่มีความอันตรายถึงชีวิต

นายแพทย์คมชิต ชวนัสพร สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) อธิบายเกี่ยวกับ ภาวะ หัวใจหยุดเต้น กะทันหันในที่ทำงานว่า เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องรักษาทันที ด้วยการทำการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และใช้เครื่อง AED เมื่อจำเป็นเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ

ซึ่งหากมีการใช้อย่างถูกต้องภายใน 3-5 นาที จะสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้ แต่ถ้าปล่อยไว้นานเกินไป โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งลดลง เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงนานเกินไป ดังนั้น หากผู้ป่วยได้รับการปฐมพยาบาลอย่างทันท่วงที จะทำให้สามารถมีโอกาสรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้

ภาวะ "หัวใจหยุดเต้น" ภัยเงียบ วัยทำงาน ทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต (chain of survival) 

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานตามหลัก “ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต” (chain of survival) และการช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันด้วยเครื่อง AED เป็นขั้นตอนสำคัญที่ทุกคนต้องรู้ โดยเฉพาะพนักงานในองค์กร โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือ สพฉ. ได้แนะนำขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ได้แก่

  • Early Access เมื่อพบผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้รีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่สายด่วน 1669 ทันที
  • จากนั้น Early CPR เพื่อเริ่มช่วยชีวิตผู้ป่วยทันที โดยการนำผู้ป่วยนอนราบบนพื้นแข็งและกดที่กลางหน้าอกผู้ป่วยเพื่อนวดหัวใจ เหยียดแขนตึงตั้งฉากกับผู้ป่วย
  • จากนั้นออกแรงกดให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว กดต่อเนื่องและสม่ำเสมอด้วยอัตรา 100-120 ครั้งต่อนาที
  • Early Defibrillation ในสถานการณ์ที่ทำ CPR อย่างเดียวไม่ได้ผล AED คือ เครื่องปฐมพยาบาลที่จำเป็นที่สุด เมื่อจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าช่วยชีวิตผู้ป่วย ให้นำเครื่อง AED มาติดที่บริเวณหน้าอกของผู้ป่วยตามคำแนะนำที่บอกไว้ที่เครื่อง หยุดรอให้เครื่องวิเคราะห์ผู้ป่วย
  • จากนั้นหากเครื่องแนะนำให้ทำการช็อค ห้ามทุกคนสัมผัสตัวผู้ป่วยและกดช็อคที่ตัวเครื่อง AED
  • เมื่อเสร็จแล้วให้กดหน้าอกผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
  • Early ACLS ทีมกู้ชีพที่ได้รับการประสานการช่วยเหลือ จะเป็นผู้ใช้วิธีช่วยชีวิตขั้นสูงอย่างรวดเร็วและนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลต่อไป
  • Integrated Post Cardiac Arrest Care ดูแลผู้ป่วยหลังจากการทำ CPR อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการให้ออกซิเจน การควบคุมระดับความดันโลหิตให้เหมาะสม ฯลฯ

AED: กุญแจสำคัญสู่การรอดชีวิต

ทั้งนี้ เครื่อง AED ถือเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่มีความสำคัญในขั้นตอนการปฐมพยาบาล เนื่องจากช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้ โดยคณะกรรมการแพทย์ฉุกเฉินได้ออกประกาศกำหนดให้การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเป็นการปฐมพยาบาลอีกขั้นตอนหนึ่ง ไว้สำหรับเริ่มต้นกระทำการรักษาชีวิตหรือช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ขณะรอคอยปฏิบัติการแพทย์จากผู้ประกอบวิชาชีพ หรือผู้ช่วยเวชกรรม ณ ที่เกิดเหตุการณ์และขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

ทุกคนจึงสามารถใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติได้ แต่จำเป็นต้องมีความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยการปั๊มหัวใจหรือการทำ CPR ที่ถูกต้อง โดยการกดหน้าอกและการช่วยหายใจร่วมด้วย ดังนั้นในสถานประกอบการ พนักงานจะสามารถช่วยพนักงานด้วยกันได้ โดยจำเป็นต้องผ่านการอบรมเรื่องการทำ CPR และการใช้เครื่อง AED อย่างถูกต้องก่อน

นพ.สมชาย แซ่เจี่ย บริษัท เจี่ยรักษา จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์และ เครื่อง AED เผยว่า มาตรฐานและคุณสมบัติต่าง ๆ ของเครื่อง AED ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือ สพฉ. ได้กำหนดไว้ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเครื่อง AED ต้องมีลักษณะการทำงานแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ และมีปุ่มสำหรับปล่อยพลังงานไฟฟ้า และตัวเครื่องมีมาตรฐานเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์

นอกจากนี้ ตำแหน่งและจำนวนการติดตั้งเครื่อง AED นอกสถานพยาบาล จะต้องเป็นจุดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและนำมาใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินหัวใจหยุดเต้นได้ภายในระยะเวลา 4 นาที นับตั้งแต่พบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น โดยติดตั้งอยู่ในจุดที่สังเกตได้ง่าย

มองเห็นได้ในที่มืด อยู่ในจุดที่ปลอดภัยสูงจากพื้นไม่เกิน 1.5 เมตร มีที่จัดเก็บซึ่งเป็นตู้หรือแขวนผนัง กำหนดให้มีสัญลักษณ์ที่เป็นเครื่องหมายสากลในจุดที่ติดตั้ง มีขั้นตอนวิธีการช่วยเหลือฉุกเฉินที่ชัดเจน รวมถึงมีป้ายบอกทางไปยังจุดที่ติดตั้งเครื่อง AED

ภาวะ "หัวใจหยุดเต้น" ภัยเงียบ วัยทำงาน ทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

เตรียมพร้อม รับสถานการณ์ฉุกเฉิน

นพ.สมชาย กล่าวต่อไปว่า องค์กรจำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแผนการสื่อสารและจัดฝึกอบรมขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เพื่อรับรองสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและสร้างสวัสดิภาพที่ดีให้แก่พนักงาน และเพื่อให้องค์กรมีความพร้อมในการรับมือกรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันของพนักงาน

โดยมีเป้าหมายเพื่อลดโอกาสความสูญเสีย โดยแนวทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยขององค์กร ควรประกอบด้วยโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้แก่พนักงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ ซักซ้อมแผนการช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ

"รวมถึงการติดตั้งใช้งานเครื่อง AED เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็นขององค์กร โดยให้มีการบำรุงรักษาเครื่อง การตรวจเช็คตามระยะ การซ่อมบำรุงให้เครื่องมีความพร้อมในการใช้งานได้ตลอดเวลา"

Adblock test (Why?)


ภาวะ "หัวใจหยุดเต้น" ภัยเงียบ วัยทำงาน ทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

พระครู เชิญวิญญาณ เมียฝรั่ง เผยต้องทำพิธี 3รอบ ตร.เจอเรื่องแปลก - ข่าวสด - ข่าวสด

พระครู ทำพิธีเชิญดวงวิญญาณ เมียฝรั่ง ถูกฆ่าทิ้งไร่ข้าวโพด เผยสิ่งผิดปกติ ต้องทำพิธีถึง 3 รอบ ด้าน พนักงานสอบสวน เล่าเรื่องแปลก ก่อนวันผู้ต้อ...