Rechercher dans ce blog

Sunday, July 31, 2022

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง - PPTVHD36

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง
ดูแลกาย
เผยแพร่: 24

ลดน้ำหนักให้ได้สุขภาพดีด้วยการทำ IF แพทย์แนะ 3 รูปแบบทำแล้วได้ผลดีและปลอดภัย พร้อมเตือนข้อควรระวัง

กว่าจะสวยดูสุขภาพดีได้ต้องมาจากสุขภาพภายใน เช่นเดียวกับ “แอนชิลี สก็อต-เคมมิส” ที่ได้มาบอกเล่ามุมเฮลตี้ผ่านรายการ Rise & Shine ชีวิตดีเริ่มที่ตัวเรา โดยเผยว่าแอนเป็นผู้ที่ชื่นชอบการกินผักเป็นอย่างมาก รวมถึงเวลากินอาหารก็ชอบกินรสธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงรส ซึ่งนับเป็นการกินคลีนรูปแบบหนึ่ง

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง

สำหรับผู้ที่สนใจการกินอาหารให้ได้สุขภาพดี อยากลดน้ำหนักแบบจำกัดช่วงเวลาการกิน หรือ IF วันนี้มีความรู้จาก พญ.ชนมพรรษ์ กระแสร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร มาแนะนำกัน

น้ำหนักลงไว อาจมีผลข้างเคียง! หมอจุฬาฯเผยแนวทาง“กินไขมันแบบคีโต”อย่างไรให้ได้ผลดี

IF ให้ถูกวิธี ลดไซส์ ลดโรค

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง

IF คืออะไร?

Intermittent Fasting (IF) คือการลดน้ำหนัก โดยเน้นไปที่การกำหนดระยะเวลาในการอดอาหาร หรือว่า Fasting ร่วมกับการกำหนดระยะเวลาในการกินอาหาร หรือว่า Feeding 

การทำ IF มีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่เป็นที่นิยมและมีงานวิจัยรองรับว่าทำแล้วได้ผล มี 3 รูปแบบ คือ 

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง

1.Daily Time Restricted Feeding (16/8 method) หรือ 16/8

16 หมายถึงช่วงเวลาอดอาหาร หรือว่า Fasting

8 หมายถึงระยะเวลาที่เรากินอาหาร หรือว่า Feeding 

ยกตัวอย่างเช่น กินมื้อเช้าเป็นมื้อแรก 08.00น เราจะกินต่อไปได้อีก 8 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นจะกินได้มื้อสุดท้ายคือ 16.00 น. 

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง

2. 5:2 IF

ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการกินและการอด แต่ใน 2 วัน ต้องกินอาหารแบบ Fasting 
การกินอาหารแบบ Fasting คือการกำหนดปริมาณแคลอรีที่ได้รับต่อวัน ให้ไม่เกิน 1 ใน 4 ของแคลอรีที่ควรได้รับทั้งหมดหรือประมาณ 500 กิโลแคลอรี 

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง

3. Alternate-Day Fasting

การกินอาหารแบบวันเว้นวัน กินวันอดวันสลับกันไปเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น เริ่มกินวันจันทร์ เราจะสามารถกินได้ 24 ชั่วโมง พอวันอังคารต้องอดอาหาร 24 ชั่วโมง และเริ่มกินได้อีกครั้งคือวันพุธ

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง

ระหว่างการทำ IF จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้าง?

  • 4-8 ชั่วโมงแรก น้ำตาลในกระแสเลือดเริ่มลด ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย เพลีย ไม่มีแรง หิวบ่อย
  • 12-18 ชั่วโมงขึ้นไป จะเกิดภาวะคีโตซิส คือการดึงไขมันออกมาใช้ให้เกิดพลัง ทำให้รู้สึกกระสับกระส่าย ปวดหัว ผื่นขึ้น สิวขึ้น เนื่องจากไขมันที่เผาผลาญออกมา มักจะมีสารพิษปนเปื้อนอยู่ ซึ่งอาการจะดีขึ้นได้เอง
  • อดอาหารต่อไปเรื่อย ๆ จะเกิดภาวะ Autophagy คือการกลืนกินเซลล์ของตัวเองที่เสื่อมสภาพ แก่ อักเสบ นำไปรีไซเคิลสร้างเป็นเซลล์ใหม่ที่อ่อนเยาว์มีคุณภาพขึ้นมาทดแทน ซึ่งจะให้ร่างกายสามารถป้องกันโรคจากความเสื่อมต่างๆ ได้ เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ อัลไซเมอร์ มะเร็ง 
รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง

ประโยชน์การทำ IF

  • ทำให้เกิดการดึงไขมันออกมาใช้เป็นพลังงาน เพราะฉะนั้นจะมีการเผาผลาญไขมันเกิดขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้าง โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งมีหน้าที่ในการเผาผลาญ เพราะฉะนั้นไขมันและน้ำหนักจะลดลง

ข้อควรระวัง

  • ต้องกินแบบพอดีๆ ไม่กินแบบบ้าคลั่ง อย่างเช่น หลายคนรู้สึกว่าต้องกินให้ได้มากๆ ในช่วง Feeding เพราะกลัวว่าในช่วง Fasting จะกินอะไรไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือจะให้อ้วนขึ้น น้ำหนักไม่ลง หรือเกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้
  • เลือกช่วงระยะเวลาในการทำ Fasting หรือ Feeding ไม่ถูก จะทำให้ไปกระตุ้นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้ 
  • ติดกินของหวานในช่วง Feeding เสี่ยงทำให้เป็นคนติดหวานได้ในอนาคต

ดังนั้น ต้องกินอาหารให้เป็นปกติ กินแบบพอดีๆ ให้ได้สารอาหารครบถ้วน 

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง

ใครบ้างไม่ควรทำ IF

1.เด็กและวัยรุ่น เพราะการทำ IF จะทำให้การเจริญเติบโตของเด็กและวัยรุ่นหยุดชะงักได้

2.หญิงตั้งครรภ์ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารให้เพียงพออย่างยิ่ง เพื่อการพัฒนาของทารกในครรภ์

3.คนที่ขาดสารอาหารอยู่แล้ว ไม่ควรอดอาหารเพิ่มเติมอีก

4.คนที่เพิ่งหายป่วยหรือได้รับการผ่าตัดมา ตัวอย่างเช่น เพิ่งหายป่วยจากโควิด-19 เพราะอาจทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นในการซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่สึกหรอ

5.คนที่มีโรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน ความดัน หัวใจ สามารถทำ IF ได้แต่ต้องปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด

รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง

ทำ IF ให้ปลอดภัย

1.เลือกเวลา Fasting และ Feeding ให้ตรงกับนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างเช่น คนทำงานเช้าให้เลือกเวลา Feeding เป็นตอนกลางวัน เลือกเวลา Fasting เป็นช่วงกลางคืน

2.เลือกกินอาหารที่มีคุณภาพ อาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันดีสูง ไขมันเลวต่ำ เลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้องไม่ขัดสี มันหวาน มันม่วง และต้องกินน้ำเยอะๆ อย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน เพราะจะช่วยกำจัดสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันได้

3.ห้ามกินอาหารที่มีแคลอรี ในช่วง Fasting โดยจะกินได้เฉพาะน้ำเปล่า ชา กาแฟ ที่ไม่มีแคลอรีเท่านั้น

4.ห้ามกินเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียมเป็นส่วนประกอบ จะทำให้การ Fasting ไม่ได้ผล 

5.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกเป็นชนิดที่มีความรุนแรงเล็กน้อย อัตราการเต้นของหัวใจไม่ควรเกิน 50% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ถ้าหากไม่มีเครื่องวัดให้ดูว่าในช่วงเวลาที่เราออกกำลังกาย สามารถพูดเป็นประโยคได้อย่างต่อเนื่องไม่มีหอบเหนื่อยหรือไม่

หากใครทำ IF ยังไม่สำเร็จ ให้พยายามหารูปแบบ IF ที่เหมาะกับตนเอง ถ้าหากเราทำสำเร็จนอกจากจะสามารถลดน้ำหนักได้แล้ว สุขภาพดีก็ยังอยู่ในมือของทุกท่าน 

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม จาก BDMS

ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ

PPSHOP

Adblock test (Why?)


รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง - PPTVHD36
Read More

No comments:

Post a Comment

พระครู เชิญวิญญาณ เมียฝรั่ง เผยต้องทำพิธี 3รอบ ตร.เจอเรื่องแปลก - ข่าวสด - ข่าวสด

พระครู ทำพิธีเชิญดวงวิญญาณ เมียฝรั่ง ถูกฆ่าทิ้งไร่ข้าวโพด เผยสิ่งผิดปกติ ต้องทำพิธีถึง 3 รอบ ด้าน พนักงานสอบสวน เล่าเรื่องแปลก ก่อนวันผู้ต้อ...