นายนิพพิชฌน์ โกวิทวณิชกานนท์ นักวางแผนการเงิน CFP เปิดเผยว่า ตลาดประกันชีวิต ช่วงที่ผ่านมายังถูกละเลยอยู่ โดยเฉพาะคนระดับกลางลงมา เนื่องจากมีข้อจำกัด และเต็มใจที่จะยอมรับความเสี่ยงเอง ซึ่งหากเทียบกับต่างประเทศ อาทิ เกาหลี ญี่ปุ่น จะเห็นว่าพลเมืองของประเทศเหล่านี้ มีการทำประกันอย่างน้อย 3 กรมธรรม์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยง เนื่องจากค่ารักษาพยาบายของประเทศเหล่านี้ อยู่ในระดับสูงมาก แต่ในประเทศไทย พบว่าค่ารักษาพยาบาลยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก รวมถึงมีสิทธิในการช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ สำนักงานประกันสังคม แต่ความเสี่ยงที่มีเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน จากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทำให้ความสำคัญในการทำประกันชีวิตมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสียหาย ทั้งกับตัวเองและครอบครัว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ซึ่งขณะนี้เราเห็นบริษัทประกันชีวิตหลายราย ที่พยายามร่วมมือกับโรงพยาบาลและบริษัทที่เกี่ยวข้อง ในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ เพื่อให้มีสวัสดิการติดตัวผู้ทำประกันชีวิตในระยะยาวมากขึ้น จากเดิมที่การคุ้มครองอาจยังไม่ได้ครอบคลุมมากนัก
นายนิพพิชฌน์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ที่มีอยู่ในช่วงที่ผ่านมา อาจตอบโจทย์คนได้บางกลุ่ม และยังมีข้อจำกัดอยู่สำหรับคนส่วนใหญ่ ทำให้มีการออกประกันชีวิตควบการลงทุน หรือประกันชีวิตแบบยูนิตลิงค์ (Unit Linked) เพื่อลดข้อจำกัดเหล่านั้น และช่วยให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงการทำประกันชีวิตได้มากขึ้น เนื่องจากสามารถเลือกชำระได้แบบจ่ายครั้งเดียว หรือจ่ายรายงวด เริ่มต้นขั้นต่ำเพียง 1,000 บาทต่อเดือน หรือ 12,000 บาทต่อปี ให้การคุ้มครองกว่า 100% หรือวงเงินประมาณ 1,200,000 บาท โดยประกันชีวิตยูนิตลิงค์ จึงไม่ใช่ทางเลือก แต่ถือเป็นทางออกในการปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ ที่มีอยู่ เนื่องจากความยืดหยุ่นของผลิตภัณฑ์มีมากกว่า อาทิ สามารถหยุดการส่งเบี้ยประกันได้ ถอนได้ และชำระเบี้ยประกันไม่สูงมากนัก เทียบกับสิทธิประโยชน์ในการคุ้มครอง รวมถึงสามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมได้ เพราะเป็นประกันที่ควบการลงทุนด้วย แต่ข้อเน้นย้ำคือ ต้องเป็นการซื้อและถือในระยะยาว อย่างน้อย 10 ปี รวมถึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการป้องกันเงินต้นไม่ให้ลดลงอย่างเด็ดขาด เนื่องจากประกันดังกล่าว ลงทุนในกองทุนรวม เพื่อสร้างผลตอบแทน ซึ่งอาจเกิดความผันผวนได้ จึงต้องศึกษาให้ชัดเจนก่อน
นักวางแผนการเงินชี้คนไทยระดับกลางลงมา ละเลยทำประกันชีวิต เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงน้อย - มติชน
Read More
No comments:
Post a Comment