ธปท.เผยผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย หรือ BSI COVID เห็นการฟื้นตัวของธุรกิจปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนทุกธุรกิจตามมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ การจ้างงานปรับดีขึ้น พบภาคการผลิตใช้มาตร 75 เพิ่มขึ้นหลังต้องหยุดผลิตชั่วคราว และสัดส่วนกว่า 49% ทำมาตรการ Bubble & Seal ดันต้นทุนสูงขึ้น ด้านธุรกิจท่องเที่ยว-ก่อสร้างมีสภาพคล่องน้อยกว่า 3 เดือนเพิ่มขึ้น
วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย (BSI COVID) เฉพาะกิจระหว่างวันที่ 1-23 กันยายน 2564 ว่า ในเดือนกันยายน 2564 การฟื้นตัวของธุรกิจปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะภาคที่ไม่ใช่ภาคการผลิตตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นสำคัญ อาทิ การกลับมาเปิดห้างสรรพสินค้า และการนั่งรับประทานในร้ายอาหารได้บางส่วน ประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เริ่มลดลง ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภค
สำหรับภาคการผลิตปรับดีขึ้นเล็กน้อยหลังจากปัญหาการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในโครงงานเริ่มคลี่คลาย โดยธุรกิจนำมาตรการ Bubble & Seal มาใช้ในโครงงานมากขึ้น ขณะที่ปัญหาด้านการขนส่งเป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจมากขึ้นในเดือนนี้
ขณะที่ระดับการฟื้นตัวของการจ้างงานปรับดีขึ้นทั้งด้านจำนวนแรงงานและรายได้เฉลี่ยสอดคล้องกับการฟื้นตัวของธุรกิจ และการใช้นโยบายการปรับเปลี่ยนการจ้างงานลดลงจากเดือนก่อนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายการสลับมาทำงานยังมีสัดส่วนสูงใกล้เคียงเดิม ขณะที่ในภาคการผลิตมีการใช้มาตร 75 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนนึ่งมาจากงโรงงานหยุดผลิตชั่วคราวหรือใช้แรงงานน้อยลง เพราะปัญหาการแพร่ระบาดในโรงงานหรือปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
ทั้งนี้ ธุรกิจมีมุมมองต่อการฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับก่อนโควิด-19 ล่าช้ากว่าการสำรวจครั้งก่อน โดยภาคการผลิตส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับเข้าสู่ระดับเดิมภายในครึ่งปีแรกของปี 2565 เร็วกว่าภาคที่มิใช่การผลิตที่ส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับมาภายในครึ่งหลังของปี 2565
ธุรกิจส่วนใหญ่มีสภาพคล่องสำรองใกล้เคียงกับใตรมาสก่อน ยกเว้นภาศท่องเทียว และก่อสร้างทีมีสัดส่วนสภาพคล่องน้อยกว่า 3 เดือนเพิ่มขึ้น และภาคบริการ อาทิ ธุรกิจสาธารณูปโภค และคลังสินค้าที่มีสัดส่วนสภาพคล่องมากกว่า 2 ปีเพิ่มขึ้น ขณะที่บางธุรกิจสะสมวัตถุดิบคงคลังน้อยลง โดยเฉพาธุรกิจผลิตเครื่องจักร ธุรกิจผลิตเหล็ก และธุรกิจค้าปลีกยานยนต์ ส่วนหนึ่งจากราคาเหล็กที่สูงขึ้น และปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนตักเตอร์เนื่องจากการปิดโรงงานของคู่ค้าในช่วงก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี ประเด็นพิเศษจากการสำรวจ พบว่า ธุรกิจภาคการผลิตประมาณ 49% มีการทำมาตรการ Bubble & Seal เพื่อควบคุมการแพร่ระบาตในโรงงาน แต่มีอุปสรรคสำคัญจากต้นทุนที่สูง โดยเฉพาะต้านสาธารณสุข อาทิ ค่ายา ค่าตรวจ ATK และด้านการจัดหาพื้นที่กักตัว ขณะที่มุมมองต่อการกลับมาใช้ชีวิตปกติของประชาชน ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ประเมินว่าวัคซีนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด และจะเกิดได้โนไตรมาสที่ 2 ของปี 2565
ธปท. เผยภาคการผลิต 49% ทำ "บับเบิลแอนด์ซีล" ดันต้นทุนพุ่ง - ประชาชาติธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment