"ต้องเข้าใจคำว่าล็อกดาวน์ดีๆ ว่าหมายความว่าอย่างไร ล็อกดาวน์เดือน เม.ย.63 นั่นคือการล็อกดาวน์ แต่หลังจากนั้นไม่ใช่การล็อกดาวน์ เป็นการปิดกิจการ จำกัดการเคลื่อนย้าย"
แล้ววันที่ 9 ก.ค.2564 ศบค.ชุดใหญ่ก็ประชุมและมีการออกมาแถลงข่าว ยกระดับมาตรการ “ล็อกดาวน์” หยุดเชื้อเพื่อชาติ
1. ศบค.เห็นชอบ ล็อกดาวน์ 10 จังหวัด รวม 14 วัน เริ่ม 12 ก.ค.ตั้งเป้าลดผู้ป่วยใน 2-4 สัปดาห์
2. จำกัดการเดินทางให้ทุกคนหยุดเชื้อเพื่อชาติ ไม่ออกจากเคหสถานโดยไม่จำเป็น ยกเว้นไปซื้ออาหาร พบแพทย์ ฉีดวัคซีน
3. ไม่ควรเดินทางข้ามจังหวัด เริ่มสกัดเดินทาง 10 ก.ค. (ตั้งด่านตั้งแต่เที่ยงคืน 9 ก.ค.เป็นต้นไป)
4. ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง ปิด 20.00-04.00 น.
5. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดเฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ธนาคาร สถาบันการเงิน เปิดถึง 20.00 น.
6. ร้านอาหาร ห้ามบริโภคอาหาร หรือสุราหรือเครื่องดื่มในร้านเปิดได้ถึง 20.00 น.
7. หนุน บริษัท ห้างร้าน ทำงานที่บ้าน Work From Home 100%
8. รถสาธารณะให้บริการ ถึง 21.30 น.
9. ปิดสถานที่ เสี่ยงติดโรค นวดเพื่อสุขภาพ สปา สถานเสริมความงาม
10. สวมสาธารณะเปิดได้ถึง 20.00 น.
11. สถานศึกษาเรียนออนไลน์ 100%
12. ห้ามรวมกลุ่มเกิน 5 คน ยกเว้น กิจกรรมทางศาสนา เช่น งานศพจัดได้
และ 13.ขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 10 จังหวัด ไม่ออกนอกเคหสถานตามเวลากำหนด ช่วงเวลา 21.00-04.00 น. เว้นแต่มีความจำเป็น และคนฉีดวัคซีนแล้วเดินทางได้
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับ การ "ล็อกดาวน์" ทั่วประเทศ ช่วงเดือนเมษายน 2563 ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดและข้อปฏิบัติตาม พ.ร.ก ฉุกเฉิน ฉบับ 1 ที่ประกาศเมื่อ 25 มี.ค.63 มีความแตกต่างหรือเหมือนกัน ดังนี้
- ห้ามออกนอกเคหสถาน ระหว่าง 4 ทุ่ม-ตี 4 (เริ่ม 3 เม.ย.63)
- ปิดสถานที่เสี่ยง อาทิ ผับ สถานบริการ สนามมวย สนามกีฬา สถานประกอบการ อาบ อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร (สถานที่อื่นให้พิจารณาโดยสั่งปิดเฉพาะส่วน หรือทั้งหมด ตามความจําเป็นและเหมาะสม)
- ปิดช่องทางเข้าประเทศ
- ห้ามกักตุนสินค้า (ยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ําดื่มฯลฯ)
- ห้ามชุมนุม
- ห้ามเสนอข่าว ไม่จริง บิดเบือน หรือทําให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว
- งด/ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด
คำสั่งของ กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. (ตลอดเดือน เม.ย.63)
- ร้านอาหาร งดนั่งทาน
- ปิดห้างสรรพสินค้า ยกเว้นซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านยาฯลฯ
- ปิดตลาด/ตลาดนัด (เปิดเฉพาะจำหน่ายอาหาร สินค้าจำเป็น)
- ปิดสถานที่เสี่ยง อาทิ ร้านเสริมสวย ร้านสัก สวนสนุก ร้านเกม สระว่ายน้ำ สถานที่ออกกำลังกาย ศูนย์แสดงสินค้า ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม หากประชาชน ยังจำกันได้ กับการย้อนคำนายกรัฐมนตรี "ถ้าเจ็บแล้วจบ ก็ควรทำ"
คำพูดนายกฯ นี้ เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมา ก่อนมีคำสั่งประกาศปิดแคมป์คนงานทั่ว กทม.และ 4 จังหวัด-ภาคใต้ ก็เคยมีกระแสข่าว เรื่องข้อเสนอล็อกดาวน์มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ตอนนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ข้อเสนอให้ล็อกดาวน์ กทม. 7 วัน ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ยังไม่ยืนยันว่า จะดำเนินการหรือไม่ เพราะต้องรับฟังข้อมูลจากทุกภาคส่วน ถึงเหตุผลความจำเป็น และที่สำคัญ ต้องถามประชาชนด้วยว่า หากปิดและได้รับความเดือดร้อนจะทำอย่างไร ซึ่งรัฐบาลต้องหางบประมาณมาดูแล
“จะแน่ใจได้อย่างไรว่า เมื่อปิดแล้วจะจบ และหากไม่จบจะทำอย่างไร ผมคิดว่า ถ้าเจ็บแล้วจบ ก็ควรทำ แต่ถ้าเจ็บแล้วไม่จบ ก็ต้องหาวิธีการอื่นๆ อีก แต่ยืนยันจะทำให้ดีที่สุด ขณะนี้เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องดูแลตัวเอง”
จากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ไม่รู้ว่าการสั่งยกระดับมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ในครั้งนี้ เมื่อเจ็บแล้ว อนาคตจะจบลงจริงหรือไม่ หากไม่จบ สงสัยว่ารัฐนาวาบิ๊กตู่ลำนี้ อาจต้องจม และจบเองก็เป็นได้...
ย้อนรอย "บิ๊กตู่" "ถ้าเจ็บแล้วจบ ก็ควรทำ" ถึงคราวยกระดับ"ล็อกดาวน์" - ไทยรัฐ
Read More
No comments:
Post a Comment