“จุรินทร์” หนุนเอเปคเร่งลดอุปสรรคทางการค้า หนุนทำ CL เข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม และถึงมือประชาชนโดยเร็วพร้อมสนับสนุนการเจรจา WTO ให้สรุปได้ในปีนี้
รายงานข่าวจากเวทีประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค(ช่วงดึกของวันที่ 5 มิ.ย.64)ระบุว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับรัฐมนตรีการค้าเอเปครับรองแถลงการณ์ 3 ฉบับ เน้นย้ำการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด อำนวยความสะดวกทางการค้าในสินค้าจำเป็น และวัคซีนโควิด-19 ให้เข้าถึงประชาชนเร็วขึ้น หนุนใช้ CL ในการผลิตวัคซีนให้เกิดการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม พร้อมสนับสนุน WTO เร่งหาข้อสรุปประเด็นคงค้างภายในปีนี้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2564 ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (Ministers Responsible for Trade Meeting: MRT 2021) ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยได้กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทยเกี่ยวกับการรับมือกับวิกฤติโควิด-19 และระบบการค้าพหุภาคี รวมทั้งร่วมรับรองแถลงการณ์สำคัญ 3 ฉบับ
สำหรับวันนี้ตนได้เสนอประเด็นต่อที่ประชุม 2 ประเด็นสำคัญ คือ เรื่องแรกคือการรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจจากโควิด-19 เรื่องที่ 2 คือเรื่องการค้าระบบพหุภาคีภายใต้การกำกับขององค์การการค้าโลก(WTO) โดยทั้งสองเรื่องไทยได้เสนอความเห็นต่อที่ประชุม 6 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 ไทยสนับสนุนการเคลื่อนย้ายวัคซีนและสินค้าจำเป็นต่อการแก้ปัญหาโควิด โดยการลดอุปสรรคทางการค้า และมาตรการในการจำกัดการส่งออกเพื่อให้ทุกประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีน และสินค้าจำเป็นต่อการแก้ปัญหาโควิดได้โดยสะดวกรวดเร็ว
p>
ประเด็นที่ 2 ไทยยืนยันที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงในการอำนวยความสะดวกทางการค้าภายใต้กติกาของ WTO ประเด็นที่ 3 ไทยจะเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนให้ทั่วถึงตามเป้าหมายโดยเร็ว และสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนของทุกประเทศในโลก ประเด็นที่ 4 ไทยสนับสนุนการทำ CL (Compulsory Licensing)ในการผลิตวัคซีนในช่วงวิกฤติโควิด เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ประเด็นที่ 5 ไทยสนับสนุนบทบาทของ WTO ในการเร่งหารือเรื่องของการเร่งผลิตวัคซีน กับองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประเด็นที่ 6 ไทยสนับสนุน WTO ในการเร่งหาข้อสรุปในประเด็นที่คงค้าง เช่น เร่งหาข้อสรุปการอุดหนุนการประมง การยกเว้นภาษีชั่วคราวด้าน E-Commerce การอุดหนุนสินค้าการเกษตร และการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ของ WTO ที่ว่างอยู่
p>
นอกจากนี้ รัฐมนตรีการค้าเอเปค 21 เขตเศรษฐกิจ ได้ร่วมกันรับรองแถลงการณ์สำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าประจำปี 2564 ซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) ใช้การค้าเป็นกลไกสำคัญในการฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ 2) สนับสนุนการค้าระบบพหุภาคี และ 3) ร่วมกันผลักดันให้เกิดความมั่งคั่งในเอเปค ฉบับที่ 2 แถลงการณ์เอเปคเรื่องห่วงโซ่อุปทานวัคซีนโควิด-19 ซึ่งมีสาระสำคัญคือการอำนวยความสะดวกการค้าสินค้าวัคซีนโควิด-19 และสินค้าจำเป็น และ ฉบับที่ 3 แถลงการณ์เอเปคเรื่องการบริการเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าจำเป็น เน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้าขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของห่วงโซ่การผลิต
p>
ทั้งนี้ เอเปคเป็นกรอบความร่วมมือของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วยสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนฯ แคนาดา ชิลี จีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ในปี 2563 การค้าของไทยกับกลุ่มเศรษฐกิจเอเปค มีมูลค่า 9.8 ล้านล้านบาท (15,666 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) คิดเป็น 71.9% ของที่ไทยค้ากับทั่วโลก โดยไทยนำเข้าจากเอเปคมูลค่า 4.7 ล้านล้านบาท (150,711 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และไทยส่งออกไปเอเปคมูลค่า 5.1 ล้านล้านบาท (164,955 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
“จุรินทร์” ถกเอเปก เร่งรัดฉีดวัคซีนโควิด
“ไทย”เตรียมพร้อม เจ้าภาพเอเปคปีหน้า
“จุรินทร์”ลั่นกลางเวทีเอเปค หนุนทำ CL เข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม - ฐานเศรษฐกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment