22 มีนาคม 2564
56
วิสาหกิจชุมชนบ้านทุ่งแพม ต่อยอด"กัญชา" สู่ผลิตภัณฑ์มุ่งสู่ตลาด "กัญชาทางการแพทย์" พร้อมเผยเคล็ดลับ รู้-เข้าใจ 3 ข้อ ทำผลิตภัณฑ์กัญชา ได้ง่ายๆ
- วิสาหกิจชุมชนบ้านทุ่งแพม มุ่งสู่ตลาด "กัญชา"ทางการแพทย์
หลังจากที่รัฐบาลปลดล็อกเส้นใย เปลือก กิ่ง ก้าน ราก และ ใบของ "กัญชา" ที่ไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย ไม่เป็นยาเสพติด สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ เช่น ทำอาหาร ชา ยาสมุนไพร และสินค้าต่างๆ แต่ต้องเป็นผลผลิตที่ได้จากต้น "กัญชา"ซึ่งได้รับอนุญาตปลูกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
การปลดล็อกดังกล่าว กลายเป็นการเพิ่มโอกาสและทางเลือกให้กับ "วิสาหกิจชุมชน" ที่หันมาสนใจปลูก "กัญชาทางการแพทย์" ให้ได้นำส่วนต่างๆ ของ "กัญชา" ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เพิ่มช่องทาง สร้างรายได้ และเกิดการจ้างงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่ปลูกเพื่อใช้เพียงดอก และส่วนที่เหลือต้องเผาทำลาย
อรพินทร์ พญาพิทักษ์สกุล ประธานที่ปรึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกและแปรรูปบุก,เกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งแพม ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน หนึ่งใน "วิสาหกิจชุมชน" ที่ก้าวเข้าสู่ "ตลาดกัญชาทางการแพทย์" พัฒนาออกผลิตภัณฑ์ทั้งของใช้และอาหาร อธิบายว่า เดิม "วิสาหกิจชุมชน"ปลูกและแปรรูปบุกส่งประเทศญี่ปุ่น และเริ่มหันมาปลูก "กัญชา"ตั้งแต่มกราคม 2563 ถือเป็นใบอนุญาตปลูกแรกๆ ที่ได้
โดยปลูกส่งให้กับ "กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก" เพื่อไปใช้ทางการแพทย์ ทำยา 16 แผนไทยทั้งหมดที่มีการปลดล็อคให้ใช้ รอบแรกปลูกในโรงเรือนระบบ Green House ปลอดสารเคมี ไป 300 ต้น รอบที่สอง 2,000 ต้น ต้นละประมาณ 3-5 กิโลกรัม ในการปลูกไม่เน้นให้ต้นสูงเพื่อเอาใบ แต่ต้องการ “ช่อดอก” พร้อมกับทำการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อยๆ ให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มสาร THC หรือ CBD ตามที่ต้องการ ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกใจ จ.แม่ฮ่องสอน 2 ไร่ เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 5 ไร่ คาดว่าจะลงมือปลูกในเดือนหน้า และที่ จ.สระบุรี ส่วน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ปลูกกัญชงจำนวน 10 ไร่
- "กัญชา"ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
อรพินทร์ กล่าวต่อไปว่าการปลูกต้องควบคุมคุณภาพ ปลูกในโรงเรือนระบบ Green House ควบคุมคุณภาพอากาศ ดิน น้ำ เพราะ "กัญชา" เป็นพืชที่ดูดซึมสารทุกอย่างที่อยู่ในดิน และเวลามีดอกกลิ่นจะหอมหวน แมลงชอบ เพราะฉะนั้นจะกำจัดอย่างไร กัญชาที่ปลูกทำเป็นอินทรีย์แทบจะออร์แกนิค ไม่มีสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้นในโรงเรือน ต้องไม่ใช้สารเคมี ดินผสมเอง ปุ๋ยทำเอง สารฆ่าแมลงต่างๆ ไม่ใช้ แต่ใช้สมุนไพรกำจัด
ตอนนี้มีสมาชิกเกือบ 20 คน เกิดการจ้างงานเยอะมาก และต้องมาฝึกงานให้เป็น ทำให้เป็น ต้องรู้ว่ากัญชาปลูกอย่างไร ทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่นำเชื้อเข้าสู่โรงเรือน ดังนั้น คนที่จะมาทำงาน ต้องเทรนด์ก่อน ส่วนไร่ในต่างจังหวัดทางทีมเดินทางไปดูแลด้วยตัวเอง ควบคุมเอง เพราะเทคนิคบางอย่างไม่สามารถเผยแพร่ได้ เช่น สารกำจัดแมลง ดินผสมอย่างไร เน้นให้ดอกแน่นที่สุด ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด
“ส่วนโรงสกัดอยู่ที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งทำโครงการร่วมกับ แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เป็นเครื่องสกัด Co2 เรียกว่าปัจจุบัน เราทำครบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เหลืออย่างเดียว คือ การต่อยอดไปสู่การส่งออกได้”อรพินทร์ กล่าว
การต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์และวางแผนการทำตลาดและส่งออกในอนาคต อรพินทร์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้เปิดบริษัท“Thai Stick Herb” ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกสู่ตลาด และ “THC G Group” ทำหน้าที่กระจายผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นบริษัทแม่ที่ดูแลครอบคลุมทั้งหมด เพื่อรองรับธุรกิจที่จะเติบโตไปในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: ส่อง ‘มหกรรมกัญชา’ พา (เดิน) เพลิน
ค้นหาคำตอบ!! จับคู่ธุรกิจ 'กัญชา' ต้องทำอย่างไร?
ปรับปรุง 'สายพันธุ์กัญชง' อย่างไร? รับตลาดอาหารและเครื่องดื่ม
- ทำผลิตภัณฑ์ "กัญชา" ไม่ยากเข้าใจ 3 ข้อ
"มองว่ากัญชาและกัญชง ไปด้วยกันได้ทั้งหมด ทำอาหารเสริมก็ได้ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพก็ได้ ยารักษาโรค หรืออาหารได้ ตอนนี้สิ่งที่เด่น คือ เทอร์ปีน ที่เป็นกลิ่นมาใส่อาหาร ทำให้ปัจจุบัน มีการแปรรูปส่วนอื่นของกัญชาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ขนม ชา ยาสีฟัน และอื่นๆ อีกมากมาย" อรพินทร์ กล่าว
นอกจากนี้ ยังรับทำ OEM เพราะบริษัทต่างๆ ให้ความมั่นใจ เนื่องจากปลอดสาร 100% ไม่มีโลหะหนัก การปลูกได้มาตรฐาน เป็น Medical Grade ที่ส่งให้ "กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก" บริษัทต่างๆ ที่เข้ามาติดต่อจึงมั่นใจว่าไม่มีสารปนเปื้อน ตอนนี้เตรียมขึ้นห้างและเตรียมส่งออกในแถบเอเชียและยุโรป อย่างไรก็ตามต้องดูกฎหมายของประเทศนั้นๆ ด้วยว่าเปิดให้ใช้หรือไม่
“การทำผลิตภัณฑ์จากกัญชาไม่ยากแต่ขอให้ 1. เข้าใจกฎหมาย 2. เข้าใจนโยบายของภาครัฐ ต้องศึกษาว่ากฏหมายเปิดกว้างถึงระดับไหน กฎหมายค่อยๆ เปิดให้เดิน แต่ต้องรู้จังหวะการเดิน เดินแล้วทำอย่างไรให้ถูกกฎ ปลูกแล้วจะควบคุมอย่างไร ปลูกและต้องทำอย่างไรให้ปลอดภัยเอาไปใช้ให้ถูกทาง ปัจจุบัน ถือว่าเป็นโอกาสของวิสาหกิจให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะมีการปลดล็อคกิ่ง ก้าน ราก ใบ ให้วิสาหกิจจำหน่ายได้ พอจำหน่ายได้ก็มีรายได้เข้าวิสาหกิจมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอกฎหมายลูกที่จะมารองรับให้ได้ อย. เพื่อส่งออกในอนาคต" อรพินทร์ กล่าว
สำหรับรายได้จาก "กัญชา" หากเปรียบเทียบกับการทำบุกที่สามารถทำได้ 4 เดือนต่อปี แต่ "กัญชา"ทำได้ทั้งปีตอนนี้องค์การเภสัชกรรม รับซื้อ 45,000 บาทต่อกิโลกรัม และในอนาคตข้างหน้าหากส่งออกไปต่างประเทศได้ คาดว่าอาจจะได้ราคาที่ดีขึ้น แต่ตอนนี้ไทยเพิ่งจะเริ่มขยับ ต้องรอดูอีกสักพักหนึ่งว่าจะขยับได้ถึงไหน กฎหมายจะไปอย่างไร จะพาเราเดินอย่างไรบ้าง
รู้-เข้าใจ 3 ข้อนี้ !! ทำผลิตภัณฑ์ 'กัญชา' ได้ง่ายๆ - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment